การจัดการทรัพยากรมนุษย์
การจัดหาบุคคล
การจัดหาบุคคล(Staffing)หมายถึง การคัดเลือก การบรรจุตำแหน่งงานต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับโครงสร้างองค์การมีการรับสมัครงาน คัดเลือกรวมถึงการแต่งตั้ง การประเมินผล การเลื่อนตำแหน่งการให้รางวัล การฝึกอบรมและการพัฒนาปัจจัยที่มีผลต่อจำนวนและประเภทของผู้บริหารที่เป็นที่ต้องการ(Factor affecting the number and kinds of managers required) ขนาดและความซับซ้อนของโครงสร้างองค์การแต่คุณสมบัติของผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์(Vision) มีความสามารถปกครองผู้ใต้บังคับบัญชามีความสามารถในการวางแผนประนีประนอม ชักจูงที่ดีและเป็นที่ปรึกษาของผู้ใต้บังคับบัญชาได้ปัจจัยทางสถานการณที่มีผลต่อการจัดหาบุคลากร(Situation factors affecting staffing) ปัจจัยภายนอกประกอบด้วยระดับการศึกษาทัศนคติทั่วไปในสังคม ปัจจัยภายในที่มีผลต่อการจัดหาบุคคลากร คือเป้าหมายขององค์การ เทคโนโลยีโครงสร้างองค์การ ชนิดของลูกจ้าง ผลตอบแทน
2.สภาพแวดล้อมภายใน (The Internal Environment) เช่น การจัดหาบุคลากรภายในองค์การต้องมีการพิจารณาจากพนักงานในแต่ละแผนกที่มีความรู้ ความสามารถได้ทำงานเป็นเวลาพอสมควร ผลงานออกมาดี องค์การก็ควรที่จะเลื่อนตำแหน่งควรจะถนอมพนักงานให้อยู่กับองค์การนานๆการจัดหาบุคคล(Staffing)หมายถึง การคัดเลือก การบรรจุตำแหน่งงานต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับโครงสร้างองค์การมีการรับสมัครงาน คัดเลือกรวมถึงการแต่งตั้ง การประเมินผล การเลื่อนตำแหน่งการให้รางวัล การฝึกอบรมและการพัฒนาปัจจัยที่มีผลต่อจำนวนและประเภทของผู้บริหารที่เป็นที่ต้องการ(Factor affecting the number and kinds of managers required) ขนาดและความซับซ้อนของโครงสร้างองค์การแต่คุณสมบัติของผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์(Vision) มีความสามารถปกครองผู้ใต้บังคับบัญชามีความสามารถในการวางแผนประนีประนอม ชักจูงที่ดีและเป็นที่ปรึกษาของผู้ใต้บังคับบัญชาได้ปัจจัยทางสถานการณที่มีผลต่อการจัดหาบุคลากร(Situation factors affecting staffing) ปัจจัยภายนอกประกอบด้วยระดับการศึกษาทัศนคติทั่วไปในสังคม ปัจจัยภายในที่มีผลต่อการจัดหาบุคคลากร คือเป้าหมายขององค์การ เทคโนโลยีโครงสร้างองค์การ ชนิดของลูกจ้าง ผลตอบแทน
ประเภทของนโยบาย
1.สภาพแวดล้อมภายนอก (The external environment) เช่น วัฒนธรรมทางสังคมการเมือง กฎหมาย เช่น ตำแหน่งงานบางตำแหน่งจำเป็นจะต้องได้รับการศึกษาโดยเฉพาะทาง
กระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์
กระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Thehuman resource management process) การจัดการทรัพยากรมนุษย์ หรือการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือการใช้กลยุทธ์เชิงรุกที่มีความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดในองค์กรนั่นคือบุคคลที่ทำงานทั้งกรณีที่ทำงานรวมกันและกรณีที่ทำงานคนเดียวเพื่อบรรลุเป้าหมายในการประกอบธุรกิจใดๆกลยุทธ์ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์นั้นจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไปตามเวลาและสถานการณ์จึงต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงตลอดเวลาด้วยเหตุนี้ในธุรกิจหลากหลายประเภทและขนาดจึงมีแผนกหรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์โดยเฉพาะซึ่งขนาดของแผนกหรือหน่วยงานนั้นจะมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกิจเองรวมถึงความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ด้วยว่าสำคัญยิ่งยวดมากน้อยเพียงใดการจัดการทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นทั้งทฤษฎีในเชิงวิชาการและแบบปฏิบัติในธุรกิจที่ศึกษาวิธีการบริหารแรงงานทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
กระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Thehuman resource management process) การจัดการทรัพยากรมนุษย์ หรือการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือการใช้กลยุทธ์เชิงรุกที่มีความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดในองค์กรนั่นคือบุคคลที่ทำงานทั้งกรณีที่ทำงานรวมกันและกรณีที่ทำงานคนเดียวเพื่อบรรลุเป้าหมายในการประกอบธุรกิจใดๆกลยุทธ์ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์นั้นจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไปตามเวลาและสถานการณ์จึงต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงตลอดเวลาด้วยเหตุนี้ในธุรกิจหลากหลายประเภทและขนาดจึงมีแผนกหรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์โดยเฉพาะซึ่งขนาดของแผนกหรือหน่วยงานนั้นจะมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกิจเองรวมถึงความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ด้วยว่าสำคัญยิ่งยวดมากน้อยเพียงใดการจัดการทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นทั้งทฤษฎีในเชิงวิชาการและแบบปฏิบัติในธุรกิจที่ศึกษาวิธีการบริหารแรงงานทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
ขั้นที่ 1
การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ (Human resource planning) เป็นกระบวนการวิเคราะห์ความต้องการทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต
1.การพยากรณ์ความต้องการทรัพยากรมนุษย์ (Forecasting human resource needs)
1.1การเปลี่ยนแปลงพนักงาน (Personnel change) สาเหตุเพราะว่าพนักงานได้รับการเลื่อนตำแหน่ง
การเกษียณหรือการลาออก วิธีหนึ่งที่จะใช้จ้างบุคคลภายนอก
1.2การเปลี่ยนแปลงองค์การ (Organization changes) การเปลี่ยนเป้าหมายองค์การและกลยุทธ์จะทำให้เกิดตำแหน่งใหม่และมีการเปลี่ยนตำแหน่งเก่า การเปลี่ยนแปลงอาจจะทำให้องค์การเล็กลงและโครงสร้างกลายเป็นแบบกว้าง มีการกระจายอำนาจและลดความต้องการของงานบางสิ่งลงแต่อาจจะเพิ่มงานบางอย่าง
1.3ปริมาณแรงงานที่มีอยู่ในตลาดและความต้องการแรงงาน (Supplyand demand) องค์การโดยส่วนใหญ่มีพยกรณ์ความต้องการทรัพยากรบุคคลในช่วงสั้นโดยผ่านกระบวนการงบประมาณ สัมพันธ์กับแนวโน้มของจำนวนประชากร เทคโนโลยีและคู่แข่งขัน
2.การวิเคราะห์งาน(Job analysis) กระบวนการซึ่งเป็นระบบเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลข่าวสารสารสนเทศของงาน
จุดมุ่งหมายของแต่ละงาน หลังจากการวิเคราะห์งานผู้จัดการจะต้องมีการออกแบบงาน (Job design) ซึ่งเป็นกระบวนการกำหนดลักษณะโครงสร้างของงาน (Structure of work) โดยมีวัตถุประสงค์เพิ่มผลผลิต และสร้างความพอใจในการทำงาน ประกอบด้วย การเพิ่มหน้าที่รับผิดชอบในงาน(Job enrichment)การขยายงาน(Job enlargement)การหมุนเวียนงาน(Job rotation)และทำให้การทำงานง่ายขึ้น(Job simplification) ภายหลังที่องค์การได้มีการออกแบบงานจะต้องมีการกำหนดคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงาน(job specification) กำหนดไว้ในคำบรรยายลักษณะงาน (Job description) มีส่วนประกอบของงานหลัก 5 ประการ คือ
(1)ความหลากหลายในจำนวนงาน(Skill variety) เป็นสิ่งที่พนักงานต้องการความหลากหลายของกิจกรรม
พรสวรค์ และความชำนาญ
(2)ลักษณะงาน(Task identity) เริ่มทำงานตั้งแต่ต้นจนเสร็จงานโดยไม่มีการจำกัดบางขั้นตอนของงาน
(3)ความสำคัญของงาน (Task significance)
(4)ความอิสระ(Autonomy)
(5)การป้อนกลับ (Feedback)
ขั้นที่ 2
การจัดหาบุคคลเข้าทำงาน: การสรรหา และการคัดเลือกการจัดหาบุคคลเข้าทำงาน (Staffing)
1.การสรรหาบุคคล (Recruitment)
หมายถึง กรรมวิธีในการแสวงหาบุคคลที่เหมาะสม
1.1ระบบการสรรหาบุคคล (Recruitment system) สรรหาจากบุคคลได้2 ประเภท
(1)ระบบอุปถัมภ์ (Patronage system) การจัดหาบุคคลเข้าทำงานโดยไม่ได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับความรู้ความสามารถ ทำให้ขวัญของพนักงานเสียไม่มีความเชื่อมั่นการจงรักภักดีต่อองค์การมีน้อย
(2)ระบบคุณธรรม (Merit system) สรรหาบุคคลโดยการพิจารณาความรู้ ความสามารถ
1.2 กระบวนการในการสรรหา (Recruitment process) มีขั้นตอน 9 ประการ
(1)สร้างภาพลักษณ์
(2)กำหนดกฎเกณฑ์ในการรับสมัคร
(3)ใบขอเพิ่มพนักงานโดยหน่วยหรือแผนกจะทำเรื่องถึงผู้บริหารเพื่อขอเพิ่มพนักงานหรือทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
(4)การประการรับสมัคร
(5)การรับสมัคร
(6)การคัดเลือก
(7)การตรวจสอบรายละเอียด
(8)การตัดสินผลการคัดเลือก
(9)การรับเข้าทำงาน
2.การคัดเลือกบุคคล (Selecting)จะต้องพิจารณาดังนี้
2.1การคัดเลือก: การจัดบุคคลให้เข้ากับงาน ( matching the person with the Job)
2.2ระบบการคัดเลือก (System approach to selection)
2.3 ความต้องการตำแหน่งงานและการออกแบบงาน (Position requirements
and job design)
การขยายงาน(Job Enlargement) การขยายความรับผิดชอบ (Job Enrichment) การออกแบบงานจะต้องขึ้นอยู่กับโครงาร้างที่เหมาะสมทั้งด้านปริมาณ หน้าที่ และความสัมพันธ์
2.4 ปัจจัยที่มีผลต่อการออกแบบงาน (Factors influencing job design)
คำนึงถึงความต้องการขององค์การประกอบกับการพิจารณาปัจจัยอื่นๆ เช่น ความแตกต่างของบุคคล นิสัย ทัศนคติ การทำงาน เทคโนโลยีที่ใช้
2.5 ความเชี่ยวชาญ และคุณสมบัติส่วนบุคคลที่ผู้บริหารจะต้องมี (Skills and personal characteristics need by managers)
ผู้บริหารจำเป็นจะต้องมีความเชี่ยวชาญที่หลากหลายผู้บริหารระดับสูง(Top management) จะต้องเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการนึกคึดระดับกลาง (Middle management) จะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นส่วนผู้บริหารระดับล่างจะต้องมีความสามารถทางด้านเทคนิคในการทำงาน (Technical skill)
2.6 คุณสมบัติที่เหมาะสมกับตำที่ต้องการ (Matching qualification with position requirements)
(1)การแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งสนับสนุนการคัดเลือกที่ประสบผลสำเร็จ (Information exchange contributing to successful) จัดเตรียมข้อมูลให้กับบุคคลที่จะมาสมัครงาน
(2)การคัดเลือก การแทนตำแหน่ง และการเลื่อนตำแหน่ง (Selection placement and promotion) การเลือกจากผู้ที่สมัครที่มีคุณสมบัติตามที่องค์การมีความต้องการตรงกับตำแหน่งลักษณะที่งานระบุไว้การแทนตำแหน่งอาจจะทำได้โดยการเลือกบุคคลภายในที่เหมาะสมแล้วมีการแลกเปลี่ยนตำแหน่งผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีความรู้ความสามารถ
(3)ความรับผิดชอบในการคัดเลือก (Responsibility for selection) การคัดเลือกตำแหน่งผู้บริหาร ควรจะให้บริหารระดับสูงเป็นผู้พิจารณาในการคัดเลือก
2.7กระบวนการคัดเลือก (Selection process) การคัดเลือกบุคคล
ต้องอาศัยลำดับขั้นต่างๆ 8 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1การรับสมัคร
ขั้นที่ 2การตรวจใบสมัคร
ขั้นที่ 3การสอบประวัติ
ขั้นที่ 4การสัมภาษณ์เบื้องต้น
ขั้นที่ 5วิธีการคัดเลือก
ขั้นที่ 6การตรวจสุขภาพ
ขั้นที่ 7การคัดเลือกขั้นสุดท้าย
ขั้นที่ 8การบรรจุเข้าทำงาน
ขั้นที่ 3
การฝึกอบรมและการพัฒนา
การฝึกอบรม (Training)
1.การให้คำแนะนำ (Orientation) คำแนะนำพนักงานให้รู้จักงานในเบื้องต้นหัวหน้างาน โครงสร้างองค์การ และระดับขั้นของสายการบังคับบัญชาวัฒนธรรมภายในองค์การ
2.การฝึกอบรม (Training) ฝึกพฤติกรรมในการทำงานของพนักงาน
2.1 การฝึกอบรมโดยให้ลงมือปฏิบัติงาน(On-the-job training) นิยมกันมาก ลงมือทำงานจริงผู้ทำหน้าที่ฝึกอบรมก็คือ หัวหน้างานผู้สอนงาน
2.2การสอนงาน (Coaching) ให้ลงมือปฏิบัติ (On-the-job training) การสอนงานจะมีประสิทธิภาพผลสูงสุดขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชา
3.การพัฒนาอาชีพ (Career development) เตรียมความพร้อมในการเลื่อนตำแหน่ง
ขั้นที่ 4
การบริหารค่าตอบแทน
การบริหารค่าตอบแทน (Compensationmanagement)
รวมถึงการจ่ายค่าจ้างแรงงาน
เงินเดือน และผลประโยชน์ต่างๆ เช่น สวัสดิการเรื่องการประกันภัย การลาหยุด การพักร้อน การลากิจ และรายได้พิเศษ ผลประโยชน์(Benefits) เป็นส่วนหนึ่งของการจ่ายค่าตอบแทนที่นอกจากค่าจ้างแรงงาน
ขั้นที่ 5
การประเมินผลพนักงาน
การประเมินผลพนักงาน (Employeeevaluation)
การประเมินผลงาน
สามารถนำไปเป็นพื้นฐานสำหรับการปรับเลื่อนตำแหน่ง (Promotion) การโยกย้าย (transfers) การลดตำแหน่ง (demotions)และการเลิกจ้าง (terminations)
ขั้นที่ 6
การย้ายพนักงานและการแทนที่
การย้ายพนักงานและการแทนที่ (Employee movement and replacement)
1.การเลื่อนตำแหน่ง (Promotion)
2.การย้าย (Transfer)
3.การลดตำแหน่ง (Demotion)
4.การสมัคร (Voluntary severance)
5.การเลิกจ้าง (Termination)
วัตถุประสงค์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์
เพื่อช่วยให้บุคลากรใช้ทักษะความรู้
ความสามารถปฎิบัติงานของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพื่อช่วยองค์การดำเนินงานบรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้เพื่อช่วยคัดสรรบุคลากรที่มีคุณภาพและมีแรงจูงใจใฝ่หาผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับสูงเข้ามาปฎิบัติงานเพื่อยกระดับความสามารถและสร้างความพึงพอใจในการปฎิบัติงานของบุคลากร
กระบวนการผลิต
การผลิตผลิตภัณฑ์กระบวนการที่เรียกอีกอย่างว่าวงจรอายุการผลิตดำเนินตามขั้นตอนที่กำหนดซึ่งจำเป็นต่อการผลิตสินค้าให้เสร็จสมบูรณ์วงจรชีวิตเริ่มต้นด้วยการสร้างใบสั่งผลิต ใบสั่งชุดงาน หรือคัมบังจะสิ้นสุดด้วยสินค้าที่ผลิตเสร็จสิ้นที่พร้อมสำหรับลูกค้าหรือขั้นตอนอื่นของการผลิตแต่ละขั้นตอนในวงจรชีวิตต้องใช้ชนิดของข้อมูลที่แตกต่างกันเพื่อจะดำเนินกระบวนการให้เสร็จสมบูรณ์เมื่อแต่ละขั้นตอนจะเสร็จสมบูรณ์แล้ว ใบสั่งผลิต ใบสั่งชุดงานหรือคัมบังจะแสดงการเปลี่ยนแปลงในสถานะการผลิตชนิดต่างๆของผลิตภัณฑ์จำเป็นต้องมีกระบวนการผลิตที่แตกต่างกัน
ใบสั่งผลิต–นี่เป็นชนิดใบสั่งแบบคลาสสิกเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์เฉพาะหรือผลิตภัณฑ์ย่อยในปริมาณที่กำหนดในวันเฉพาะเจาะจงใบสั่งผลิตจะขึ้นอยู่กับสูตรการผลิต (Bom) และกระบวนการผลิต
ใบสั่งชุดงาน–ชนิดใบสั่งนี้ใช้สำหรับอุตสาหกรรมกระบวนการและกระบวนการที่ไม่ต่อเนื่อง
ซึ่งการแปลงการผลิตจะเป็นไปตามสูตร หรือซึ่งสินค้าร่วมและสินค้าพลอยได้อาจเป็นสินค้าสุดท้ายที่เพิ่มเติมหรือแทนที่สินค้าหลักใบสั่งชุดงานใช้ชนิด สูตร BOMs และกระบวนการผลิตคัมบัง–คัมบังจะถูกใช้เพื่อให้สัญญาณกระบวนการ lean manufacturing ที่ซ้ำกัน ตามขั้นตอนการผลิต กฎคัมบัง และ BOMs
โครงการ–โครงการการผลิตรวมผลิตภัณฑ์และบริการที่มีกำหนดการและงบประมาณที่กำหนดให้ส่วนการผลิตของโครงการที่สามารถถูกจัดส่งผ่านใบสั่งชนิดอื่นใดได้
หลักการของการผลิต
เมื่อต้องการเลือกหลักการผลิตที่เหมาะสมที่สุดเพื่อใช้กับสินค้าเฉพาะและการตลาดที่เกี่ยวข้องคุณต้องพิจารณาถึงความต้องการของการผลิตและลอจิสติกส์และรวมถึงความคาดหวังของลูกค้าเกี่ยวกับเวลารอคอยสินค้าการจัดส่งด้วย
ผลิตตามสินค้าคงคลัง–นี่เป็นหลักการผลิตแบบคลาสสิก ที่ผลิตภัณฑ์ที่ถูกผลิตสำหรับสินค้าคงคลังขึ้นอยู่กับการคาดการณ์หรือแผนการเติมสินค้าต่ำสุด(โดยทั่วไปอย่างหลังนี้จะคำนวณตามการคาดการณ์หรือปริมาณการใช้ในอดีต)
ผลิตตามคำสั่ง–ผลิตภัณฑ์มาตรฐานถูกผลิตตามใบสั่งหรือเสร็จสิ้นตามใบสั่ง ถึงแม้ว่าก่อนการผลิตอาจสามารถทำได้โดยใช้หลักการผลิตตามสินค้าคงคลังขั้นตอนห่วงโซ่มูลค่าที่มีราคาแพง หรือขั้นตอนที่สร้างตัวแปรจะถูกทริกเกอร์โดยใบสั่งขายหรือใบสั่งโอนย้าย
ตั้งค่าคอนฟิกตามใบสั่ง–เนื่องจากสำหรับหลักการผลิตตามใบสั่ง การดำเนินการขั้นสุดท้ายของห่วงโซ่มูลค่าเป็นการผลิตตามใบสั่งตัวแปรสินค้าจริงที่มีการผลิตไม่ได้ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า แต่ถูกสร้างขึ้น ณ เวลาของการป้อนข้อมูลใบสั่งตามแบบจำลองการจัดโครงแบบของผลิตภัณฑ์ขาย หลักการตั้งค่าคอนฟิกตามใบสั่งต้องการระดับหนึ่งๆของการรวมกันของกระบวนการสำหรับรายการผลิตภัณฑ์ที่ระบุ
ผลิตตามวิศวกร – โดยทั่วไป กระบวนการผลิตตามวิศวกรจะถูกระบุโดยโครงการ และโดยปกติจะเริ่มต้นด้วยระยะวิศวกรรมในระหว่างขั้นตอนทางวิศวกรรม ผลิตภัณฑ์จริงที่ต้องการให้ตอบสนองใบสั่งที่มีการออกแบบและอธิบาย
ใบสั่งผลิต ใบสั่งชุดงาน หรือคัมบัง จากนั้นสามารถถูกสร้างเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์
ภาพรวมวงจรชีวิตของการผลิต
ขั้นตอนต่อไปนี้ในวงจรชีวิตของการผลิตอาจใช้สำหรับชนิดทั้งหมดของใบสั่งผลิตของการผลิตโหมดผสม
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทั้งหมดจะถูกแสดงเป็นสถานะใบสั่งที่ชัดแจ้ง
1.สร้างแล้ว – คุณสามารถสร้างใบสั่งผลิตใบสั่งชุดงาน หรือคัมบังด้วยตนเอง หรือคุณสามารถตั้งค่าคอนฟิกระบบเพื่อสร้างตามสัญญาณความต้องการต่างๆการวางแผนหลักสร้างใบสั่งผลิต ชุดงานใบสั่ง หรือคัมบัง โดยการยืนยันแผนการใบสั่งสัญญาณความต้องการอื่นคือ ใบสั่งขายหรือเชื่อมโยงสัญญาณการจัดหาวัสดุที่มีการเชื่อมโยงความต้องการกับการจัดซื้อจากใบสั่งผลิตหรือคัมบังอื่นๆ สำหรับคัมบังปริมาณคงที่สัญญาณความต้องจะถูกสร้างเมื่อคัมบังมีการลงทะเบียนเป็นว่างเปล่า
2.ประเมินแล้ว – คุณสามารถคำนวณการประเมินสำหรับปริมาณการใช้วัสดุและทรัพยากรได้การประเมินสร้างธุรกรรมสินค้าคงคลังสำหรับวัตถุดิบที่มีสถานะเป็น อยู่ระหว่างการสั่งการรับสินค้าสำหรับผลิตภัณฑ์หลัก ผลิตภัณฑ์ร่วม และสินค้าพลอยได้จะถูกสร้างเมื่อมีการประเมินใบสั่งผลิตหรือใบสั่งชุดงาน ถ้า BOM ประกอบด้วยรายการของชนิด การจัดหาวัสดุที่มีการเชื่อมโยงความต้องการกับการจัดซื้อใบสั่งซื้อสำหรับวัสดุหรือบริการการดำเนินงานรับเหมารายย่อยจะถูกสร้างขึ้นและเชื่อมโยงกับใบสั่งผลิตหรือใบสั่งชุดงานมีการจองสินค้าหรือใบสั่งตามกลยุทธ์การจองของใบสั่งผลิตและราคาของสินค้าสำเร็จรูปจะถูกคำนวณตามการตั้งค่าพารามิเตอร์
3.จัดกำหนดการแล้ว - คุณสามารถจัดกำหนดการการผลิตโดยยึดตามการดำเนินการงานแต่ละงาน หรือทั้งสองอย่างได้
· การจัดตารางการผลิตระดับการดำเนินงาน – วิธีการจัดกำหนดการนี้จัดให้มีแผนการระยะยาวแบบคร่าวๆด้วยการใช้วิธีนี้ คุณสามารถกำหนดวันที่เริ่มต้นและสิ้นสุดไปยังใบสั่งผลิตได้ถ้ามีการแนบใบสั่งผลิตไปกับการดำเนินการผลิตคุณสามารถกำหนดให้กับกลุ่มศูนย์ต้นทุนได้
· การจัดกำหนดการงาน – วิธีการจัดกำหนดการนี้แสดงรายละเอียดแผนแต่ละการดำเนินงานจะแบ่งออกเป็นงานต่างๆแต่ละงานที่มีวันที่เฉพาะ เวลาและทรัพยากรการดำเนินงานที่กำหนดไว้ ถ้ามีการใช้กำลังการผลิตที่จำกัดงานจะถูกกำหนดให้กับการดำเนินงานทรัพยากรตามความพร้อมใช้งานคุณสามารถดูและเปลี่ยนแปลงกำหนดการได้ในแผนภูมิ Gantt
· กำหนดการคัมบัง – งานคัมบังถูกจัดกำหนดการไว้ในบอร์ดกำหนดการคัมบังหรือจัดกำหนดการโดยอัตโนมัติตามการตั้งค่าคอนฟิกการวางแผนอัตโนมัติของกฎคัมบัง
4.นำออกใช้แล้ว – คุณสามารถนำใบสั่งผลิตหรือใบสั่งชุดงานออกใช้เมื่อเสร็จสิ้นการกำหนดเวลาและวัสดุพร้อมที่จะถูกเบิกหรือจัดเตรียมการตรวจสอบความพร้อมของวัสดุช่วยหัวหน้างานฝ่ายผลิตประเมินความพร้อมใช้งานของวัสดุและส่วนประกอบสำหรับใบสั่งผลิตหรือใบสั่งชุดงาน คุณยังสามารถพิมพ์เอกสารใบสั่งผลิต เช่นรายการเบิกสินค้า บัตรงาน บัตรกระบวนการผลิต และงานในกระบวนการผลิตเมื่อมีการนำใบสั่งผลิตออกใช้จะมีการเปลี่ยนแปลงสถานะของใบสั่งเพื่อบ่งชี้ว่าสามารถเริ่มการผลิตได้เมื่อมีใช้การบริหารคลังสินค้า การนำออกใช้ของใบสั่งผลิตหรือใบสั่งชุดงานจะนำรายการการผลิตBOM ออกใช้กับการจัดการคลังสินค้าเวฟคลังสินค้าและงานของคลังสินค้าจะถูกสร้างขึ้นตามการตั้งค่าคลังสินค้า
5.จัดเตรียมแล้ว/เบิกสินค้าแล้ว – เมื่อวัสดุและทรัพยากรทั้งหมดมีการแบ่งระยะตามที่ตั้งการผลิต
รายการการผลิต BOM หรือรายการคัมบังจะถูกอัพเดตไปเป็นสถานะ เบิกสินค้าแล้วใบสั่งการจัดหาวัสดุที่มีการเชื่อมโยงความต้องการกับการจัดซื้อและงานของคลังสินค้าที่เกี่ยวข้องโดยทั่วไปจะเสร็จสมบูรณ์ในขั้นตอนนี้บัตรคัมบังหรือบัตรงานที่จำเป็นต่อการรายงานความคืบหน้าของการผลิตควรจะถูกกำหนดและพิมพ์
6.เริ่มต้นแล้ว – เมื่อมีการเริ่มต้นใบสั่งผลิต
ใบสั่งชุดงาน หรือคัมบัง คุณสามารถรายงานปริมาณการใช้วัสดุและทรัพยากรตามใบสั่งได้สามารถตั้งค่าคอนฟิกระบบเพื่อลงรายการบัญชีการใช้วัสดุและทรัพยากรที่ถูกปันส่วนไปยังใบสั่งเมื่อมีการเริ่มต้นใบสั่งการปันส่วนนี้เรียกว่า การ Preflush การล้างค่าแบบไปข้างหน้าหรือ autoconsumption คุณสามารถปันส่วนวัสดุกับใบสั่งผลิตหรือใบสั่งชุดงานด้วยตนเองได้โดยการสร้างสมุดรายวันรายการการเบิกสินค้าเพิ่มเติมคุณยังสามารถปันส่วนแรงงานและต้นทุนกระบวนการผลิตอื่นด้วยตนเองกับใบสั่งได้ด้วยถ้าคุณกำลังใช้การจัดตารางการผลิตระดับการดำเนินงาน
คุณสามารถปันส่วนต้นทุนเหล่านี้ได้โดยการสร้างสมุดรายวันบัตรกระบวนการผลิตถ้าคุณกำลังใช้การจัดตารางงาน
คุณสามารถปันส่วนต้นทุนได้โดยการสร้างสมุดรายวันบัตรงานสามารถเริ่มต้นใบสั่งผลิตหรือใบสั่งชุดงานในชุดงานของปริมาณขั้นสุดท้ายที่ร้องขอภายในใบสั่งผลิต ใบสั่งชุดงาน หรือคัมบังงานที่ถูกสร้างขึ้นสามารถเริ่มต้นและรายงานแยกกันผ่านสมุดรายวันการดำเนินการผลิตเทอร์มินัล (MES เทอร์มินัล)หรือบอร์ดคัมบัง
7.งานรายงานความคืบหน้า /เสร็จสมบูรณ์ – ใช้เทอร์มินัลMES สมุดรายวันการผลิต บอร์ดคัมบังหรือความสามารถการสแกนของอุปกรณ์เคลื่อนที่ในการรายงานความคืบหน้าของการผลิตตามงานหรือทรัพยากรปริมาณการใช้วัสดุและทรัพยากรจะถูกลงรายการบัญชี และสถานะของคัมบังที่เกี่ยวข้องใบสั่งผลิต และใบสั่งชุดงานอาจถูกอัพเดตเป็น ได้รับแล้ว หรือ รายงานเมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้วอาจจะมีการสร้างงานย้ายสำหรับคลังสินค้า ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าคอนฟิกคลังสินค้า
8.รายงานเมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้ว (การรับสินค้า) –ใบสั่งผลิตหรือใบสั่งชุดงานถูกรายงานเป็นเสร็จสมบูรณ์แล้ว
ปริมาณของสินค้าสำเร็จรูปที่เสร็จสมบูรณ์ถูกอัพเดตในสินค้าคงคลังปริมาณนี้รวมปริมาณของผลิตภัณฑ์ร่วมที่เกี่ยวข้องและสินค้าพลอยได้ถ้าคุณกำลังใช้บัญชีงานในระหว่างดำเนินการ (WIP) สมุดรายวันบัญชีแยกประเภทจะถูกสร้างขึ้นเพื่อลดบัญชีWIP และเพิ่มสินค้าคงคลังของสินค้าสำเร็จรูปเมื่อมีการคำนวณต้นทุนของใบสั่งผลิต ต้นทุนจริงของการผลิตจะมีการลงรายการบัญชีถ้าต้นทุนแรงงานและวัสดุที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไม่ได้ถูกปันส่วนในสมุดรายวันหรือโดยการ
preflush พวกมันสามารถถูกปันส่วนผ่านการล้างย้อนกลับโดยอัตโนมัติการปันส่วนโดยใช้การล้างย้อนกลับเกี่ยวข้องกับการหักลบภายหลังของกระบวนการของธุรกรรมสินค้าคงคลังถ้าใบสั่งผลิตเสร็จสมบูรณ์ ให้เลือกกล่องกาเครื่องหมาย สิ้นสุดงาน เพื่อเปลี่ยนสถานะที่เหลือเป็นสิ้นสุดแล้ว มิฉะนั้น ให้ปล่อยฟิลด์นี้ว่างเปล่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น