วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2562

บทที่ 12 การบัญชีบนอินเทอร์เน็ต




อินเทอร์เน็ตและเวิลด์ไวด์เว็บ อินเทอร์เน็ต คือ เป็นระบบของการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมไปทั่วโลกเพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการข้อมูลข่าวสาร เช่น การโอนแฟ้มข้อมูล ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์อินเทอร์เน็ตเป็นวิธีการเชื่อมโยงข่ายงานคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ซึ่งขยายไปอย่างกว้างขวางเพื่อการเข้าถึงข้อมูลของแต่ละระบบที่มีส่วนร่วมกันอยู่ (กิดานันท์ มลิทอง. 2540:321)
อินเทอร์เน็ต หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีการเชื่อมโยงบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลาย ๆ ระบบ โดยใช้โปรโตคอล (Protocol) TCP/IP (Transmission Control / Internet Protocol) เชื่อมโยงกัน ในการติดต่อจะใช้เกตเวย์ (Gateway) และใช้ชื่อที่อยู่ในการติดต่อหรือ URL (Uniform Resource Locator) ที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทำให้เกิดเครือข่ายที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดเดียวกันหรือ ต่างชนิดกัน สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วและทั่วโลก (ต้น ตัณฑ์สุทธิวงศ์ .2539:17)
อินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต
อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเช่น เว็บ, อีเมล, FTP เป็นต้นอินทราเน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP สำหรับการรับส่งข้อมูลเช่นเดียวกับอินเทอร์เน็ตซึ่งโปรโตคอลนี้สามารถใช้ได้กับฮาร์ดแวร์หลายประเภท และสายสัญญาณหลายประเภทฮาร์ดแวร์ที่ใช้สร้างเครือข่ายไม่ใช่ปัจจัยหลักของอินทราเน็ต แต่เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำให้อินทราเน็ตทำงานได้ อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายที่องค์กรสร้างขึ้นสำหรับให้พนักงานขององค์กรใช้เท่านั้นการแชร์ข้อมูลจะอยู่เฉพาะในอินทราเน็ตเท่านั้นหรือถ้ามีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโลกภายนอกหรืออินเทอร์เน็ตองค์กรนั้นสามารถที่จะกำหนดนโยบายได้ในขณะที่การแชร์ข้อมูลอินเทอร์เน็ตนั้นยังไม่มีองค์กรใดที่สามารถควบคุมการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้เมื่อเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตพนักงานบริษัทของบริษัทสามารถติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอกเพื่อการค้นหาข้อมูลหรือทำธุรกิจต่างๆ การใช้โปรโตคอล TCP/IP ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้เครือข่ายจากที่ห่างไกลได้(Remote Access) เช่น จากที่บ้าน หรือในเวลาที่ต้องเดินทางเพื่อติดต่อธุรกิจการเชื่อมต่อเข้ากับอินทราเน็ต โดยการใช้โมเด็มและสายโทรศัพท์ก็เหมือนกับการเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตแต่แตกต่างกันที่เป็นการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายส่วนบุคคลแทนที่จะเป็นเครือข่ายสาธารณะอย่างเช่นอินเทอร์เน็ตการเชื่อมต่อกันได้ระหว่างอินทราเน็ตกับอินเทอร์เน็ตถือเป็นประโยชน์ที่สำคัญอย่างหนึ่งระบบการรักษาความปลอดภัยเป็นสิ่งที่แยกอินทราเน็ตออกจากอินเทอร์เน็ตเครือข่ายอินทราเน็ตขององค์กรจะถูกปกป้องโดยไฟร์วอลล์(Firewall) ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่กรองข้อมูลที่แลกเปลี่ยนกันระหว่างอินทราเน็ตและอินเทอร์เน็ตเมื่อทั้งสองระบบมีการเชื่อมต่อกันดังนั้นองค์กรสามารถกำหนดนโยบายเพื่อควบคุมการเข้าใช้งานอินทราเน็ตได้อินทราเน็ตสามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ในองค์กรได้หลายอย่างความง่ายในการตีพิมพ์บนเว็บทำให้เป็นที่นิยมในการประกาศข่าวสารขององค์กรเช่น ข่าวภายในองค์กรกฎระเบียบ และมาตรฐาน การปฏิบัติงานต่าง ๆ เป็นต้นหรือแม้กระทั่งการเข้าถึงฐานข้อมูลขององค์กรก็ง่ายเช่นกันผู้ใช้สามารถทำงานร่วมกันได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
XBRL (eXtensible Business Reporting Language)
XBRL (eXtensible Business Reporting Language) คือ ระบบภาษาทางอิเล็กทรอนิกที่ถูกสร้างขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีเครือขายอินเทอร์เน็ตให้เป็นประโยชน์ในการสื่อสารข้อมูลเป็นการติดรหัสแถบ (Barcode)ของรายการต่างๆของงบการเงินที่นำเสนอ ซึ่งเป็นการอ้างถึงภาษามาตรฐานของรายงานทางการเงินผ่านระบบอินเตอร์เน็ตซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลกเป็นภาษาทางคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบเป็นพิเศษสำหรับการนำเสนองบการเงินที่เป็นเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในรูปแบบของสื่อที่คอมพิวเตอร์สามารถอ่านได้นอกเหนือไปจากรูปแบบ PDF, HTML หรือรูปแบบ Word/Excel ที่คุ้นเคยกันมาแต่อดีต ในรูปแบบรายงานทางการเงิน ซึ่งการทำงานของ XBRLเปรียบได้กับการทำงานของเครื่องอ่านบาร์โค้ดทำให้การทำงานถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น เพิ่มความรวดเร็วและสามารถลดข้อจำกัดในการรวบรวมเอกสารที่มาจากแหล่งต่างที่กันช่วยจัดเก็บเอกสารในรูปแบบที่ทันสมัย สอดคล้องกับเทคโนโลยีในปัจจุบันในปัจจุบันนี้ เทคโนโลยี XBRL มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการนำส่งงบการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์(e-Filing)ซึ่งถูกใช้งานกันอย่างกว้างขวางในระดับนานาประเทศรวมถึงประเทศไทยโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการนำส่งงบการเงินของบริษัทนิติบุคคลทั้งระบบทั่วประเทศใหม่ทั้งหมด ซึ่งจากเดิมเคยส่งด้วยรูปแบบเอกสาร (Hardcopy) มาเป็นรูปแบบใหม่ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเทคโนโลยี XBRL มีการประมวลผลแบบทันที (Real Time) ช่วยลดการจัดเก็บเอกสารจำนวนมาก อีกทั้งยังเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการในการนำส่งงบการเงิน มนวิกา ผดุงสิทธิ์ (2548, 55)
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
E-Commerce ย่อมาจาก ElectronicCommerce หรือที่เรียกว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์โดยความหมายของคำว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีผู้ให้คำนิยามไว้เป็นจำนวนมากแต่ไม่มีคำจำกัดความใดที่ใช้เป็นคำอธิบายไว้อย่างเป็นทางการ ซึ่งมีดังนี้
E-Commerce คือการดำเนินธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, 2542)
E-Commerce คือ การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (World Trade Organization: WTO, 1998)
E-Commerce คือธุรกรรมทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ทั้งในระดับองค์กรและส่วนบุคคล บนพื้นฐานของ การประมวลและการส่งข้อมูลดิจิทัลที่มีทั้งข้อความเสียง และภาพ (OECD, 1997)
E-Commerce คือกิจกรรมเชิงพาณิชย์ที่ดำเนินการโดยมีการแลกเปลี่ยน เก็บรักษาหรือสื่อสารข้อมูลข่าวสาร โดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์รวมทั้งการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ อีเมล์ และอื่น ๆ (Hill, 1997)
E-Commerce คือการใช้วิธีการอิเล็กทรอนิกส์ในการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจรวมทั้งการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น EDI การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีการสื่อสารคมนาคมอื่น ๆโทรทัศน์และการใช้อินเทอร์เน็ต (Palmer, 1997)
E-Commerce คือ การซื้อขายสินค้าบริการ และสารสนเทศผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งอินเทอร์เน็ต (Turban et al, 2000)
สรุป E-Commerceหรือ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือการประกอบธุรกิจการค้าผ่านสื่ออีเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรสารโทรทัศน์ หรือ คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นช่องทางที่มีความสำคัญที่สุดในปัจจุบันโดยมีระบบอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงผู้ซื้อและผู้ขายให้สามารถทำการค้าระหว่างกันได้
E-Payments การชำระเงิน
คือ ความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีที่ได้มีการพัฒนาไปข้างหน้าอย่างสม่ำเสมอ เพื่อแสวงหาความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตให้มากขึ้นดังเช่นการพัฒนาระบบการชำระเงินแบบ e-Paymentหรือ Electronic Payment System ที่ถูกสร้างขึ้นมาให้สอดคล้องกับการใช้งานของเทคโนโลยีและวิถีชีวิตของคนในปัจจุบัน ซึ่งจะมีลักษณะเป็นกระบวนการส่งมอบในลักษณะของการโอนชำระเงินผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย เช่น ระบบอินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน ที่มีตัวกลาง Payment Gatewayในรูปแบบ Website ที่ทำให้สามารถทำการชำระค่าบริการหรือทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ผ่านบัตรเครดิตได้โดยทั้งหมดนี้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล เพื่อลดงบประมาณในการผลิตธนบัตรลดปัญหาในการฟอกเงิน หลบเลี่ยงภาษี เพื่อทำให้การเก็บภาษีมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและทำให้การทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งระบบ Electronic Payment System นี้จะอยู่ภายใต้การดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งหากธุรกิจใดที่ต้องการใช้งานจำเป็นจะต้องขออนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนเกิดการใช้งาน และธุรกิจ Electronic Payment System ที่อยู่ภายใต้การดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยประกอบด้วยบริการทั้งหมด 8 ประเภทดังนี้
1. การเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) คือ มูลค่าของเงินที่ถูกบันทึกในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งอาจมาจากการใช้ชำระค่าสินค้า หรือทำธุรกรรมอื่นๆ แทนเงินสด
2. บริการเครือข่ายของบัตรเครดิต คือ เครือข่ายที่จะให้บริการในการรับส่งข้อมูลทางการเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ไปยังผู้ให้บริการบัตรเครดิตต่างๆ
3. บริการเครือข่าย EDC Network คือ จุดเชื่อมโยงเครือข่ายของการให้บริการอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่รับส่งข้อมูลการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
4. บริการสวิตชิ่งในการชำระเงิน (Transaction Switching) คือบริการที่เป็นส่วนรวมหรือจุดเชื่อมต่อของการรับส่งข้อมูลการชำระเงินให้กับผู้ให้บริการตามที่ได้ตกลงกันไว้
5. บริการหักบัญชี (Clearing)คือการบริการในการรับส่งข้อมูล ตรวจสอบและยืนยันในคำสั่งของการชำระเงิน เพื่อให้กระบวนการชำระดุลระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ให้สำเร็จ
6. บริการชำระดุล (Settlement)คือบริการระบบการชำระเงินที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้า เพื่อหักเงินของผู้ใช้บริการไปให้เจ้าหนี้
7. บริการรับชำระเงินแทนบริการที่คิดขึ้นมาเพื่อชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์แทนเจ้าหนี้
8. บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์หรือผ่านทางเครือข่าย เป็นการชำระเงินผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์แต่จะไม่มีการเก็บเงินไว้
e-Wallet
e-Wallet คือกระเป๋าเงินส่วนตัวของสมาชิก เพื่อใช้ซื้อสินค้าเว็บไซด์เว็บ Bookbik เท่านั้นซึ่ง e-wallet เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ให้ความสะดวกกับเพื่อนสมาชิกในการซื้อสินค้าe-Wallet เหมาะสำหรับการชำระค่าสินค้าที่มีมูลค่าการชำระต่อครั้งไม่มากนักเช่น สมาชิกซื้อสินค้า itunes ราคา 30 บาท แต่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการชำระเงิน 10-15บาทเมื่อเปรียบเทียบค่าธรรมเนียมการชำระเงินกับค่าสินค้าที่เราซื้อดูแล้วอาจจะไม่สมเหตุผลเพราะฉะนั้นในกรณีนี้สมาชิกอาจจะโอนเงินมาไว้ที่ e-Wallet ในจำนวนหนึ่งแล้วทยอยซื้อสินค้าตัดเงินจาก e-Wallet ไปเรื่อยๆได้
การตลาดธุรกิจ (B2B) อีคอมเมิร์ซแบบธุรกิจกับธุรกิจ
การที่ลูกค้า ซื้อสินค้าและบริการของเราเพื่อนำไปผลิตต่อด้วยการเพิ่มคุณค่าให้เป็นสินค้าและบริการอีกอย่างหนึ่งซึ่งไม่ใช่นำไปอุปโภคหรือบริโภคเอง เช่น ซื้ออ้อยเพื่อนำไปผลิตเป็นน้ำตาล เป็นต้นหรือ ร้านค้าปลีกสั่งซื้อสินค้ากับบริษัทผู้ผลิตสินค้าเมื่อสต็อกสินค้าลดลงถึงระดับหนึ่งโดยส่วนใหญ่ผู้ซื้อและผู้ขายมักจะรู้จักกันล่วงหน้าและอาจทำเอกสารสัญญาที่เป็นกระดาษกันล่วงหน้าดังนั้นความเสี่ยงที่เกิดจากการซื้อขายจะต่ำ
ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต
1) เปิดเผยข้อมูลเท่าที่จำเป็นและระลึกไว้เสมอว่า ไม่มีความปลอดภัย 100% ในโลกของอินเทอร์เน็ต
2) คุณอาจถูกนำข้อมูลไปใช้งานได้ตลอดเวลาข้อมูลบางอย่างไปอยู่ในโลกไซเบอร์แล้วเอาออกได้ยากและบางครั้งอยู่เหนือการควบคุมของเรา
ไฟร์วอลล์ (Firewall)
ไฟร์วอลล์ (Firewall)คือระบบรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งจะทำหน้าที่เปิดและปิด การเข้าถึงจากภายนอก (เช่น จากอินเตอร์เน็ต)เข้าถึงเครือข่ายภายใน (เช่น เครือข่ายภายในองค์กร หรือคอมพิวเตอร์ส่วนตัว) ได้อาจพูดได้ว่า Firewall ก็เหมือนยามหน้าประตูของคอมพิวเตอร์ซึ่งการเข้าถึงจากภายนอกจะต้องผ่านให้ Firewall ตรวจสอบก่อนว่าสามารถเข้าระบบเครือข่ายภายในได้หรือไม่ Firewall โดยจะมีการกำหนดกฎระเบียบบังคับใช้เฉพาะเครือข่ายซึ่งหมายความว่าหากการเข้าถึงนั้นถูกต้องตามที่ Firewall กำหนดไว้ก็จะเข้าถึงเครือข่ายได้ หากไม่ตรงก็จะเข้าถึงไม่ได้ (หรือที่เรียกกันว่า Default deny )
Proxy คืออะไร
Proxy หรือ proxy server ปกติแล้วคือ server ที่ทำหน้าเป็นเป็นสื่อกลางบน internet ที่รองรับ request มาประมวลผล proxy ทำงานโดยการเชื่อมต่อกับ server แล้วนำ request จากฝั่ง computer ของคุณส่งไปหา proxy server จากนั้นนำไป process แล้วส่งผลลัพธ์กลับมาหาคุณในกรณีก็คือการที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างเครื่องของคุณกับ computer อื่นๆทั้งหมดบน internet นอกจากนี้ยังถูกใช้ในเรื่องอื่นๆ เช่น กรองข้อมูล website และ ป้องกันหรือปกปิดเว็ปที่ไม่ต้องการ หรือ ไม่เหมาะสม
Proxy แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ
1. Forward proxy หรือที่เรียกกันว่า openproxy ทำหน้าที่ ส่งข้อมูลออกไปให้ สามารถเชื่อต่อจากที่ไหนก็ได้
2. Reverse proxy คือการที่รอรับ request จาก internet แล้วทำการ forward ข้อมูลเข้าสู่ network ภายใน (intranet) นั้นทำให้ ระบบภายนอกไม่สามารถ connect เข้ามายังระบบภายในตรงๆได้ถือเป็นการป้องกันการโจมตีจากภายนอกได้ด้วย
ดีคริปชั่น คือ การเข้ารหัส และการถอดรหัส
Encryption คือ การเข้ารหัสหรือการแปลงข้อมูลให้เป็นรหัสลับ ไม่ให้ข้อมูลความลับนี้ถูกอ่านได้ โดยบุคคลอื่นแต่ให้ถูกอ่านได้โดยบุคคลที่เราต้องการให้อ่านได้เท่านั้นโดยการนำเอาข้อความเดิมที่สามารถอ่านได้ (Plain text,Clear Text) มาทำการเข้ารหัสก่อน เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อความเดิมให้ไปเป็นข้อความที่เราเข้ารหัส (Ciphertext) ก่อนที่จะส่งต่อไปให้บุคคลที่เราต้องการที่จะติดต่อด้วยเพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลอื่นสามารถที่จะแอบอ่านข้อความที่ส่งมาโดยที่ข้อความที่เราเข้ารหัสแล้ว
Decryption คือ การถอดรหัสข้อมูล อย่างข้อมูลที่ถูกใส่รหัสไว้ซึ่งข้อมูลนี้เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถอ่านได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องนำข้อมูลเหล่านั้นมาถอดรหัส เพื่อให้สามารถอ่านได้
ประโยชน์ของการเข้ารหัส
1.เราสามารถที่จะระบุตัวตนของผู้ที่เราต้องการให้เข้าถึงข้อมูลของเราได้
2.รักษาความลับที่ไม่ให้ผู้อื่นที่ไม่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลได้
3.สามารถรักษาความถูกต้องและสมบูรณ์ของข้อมูลนอกการเข้ารหัสแบบEncryption แล้วยังมีการเข้ารหัสแบบอื่นอีก เช่น MD5
ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ (DigitalSignature)
Digital Signature เป็นลายเซ็นที่อยู่ในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ที่มีคุณสมบัติด้านความปลอดภัยเพื่อให้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ประกอบด้วย
1. Signer Authentication เป็นความสามารถในการพิสูจน์ว่าใครเป็นคนเซ็นเอกสารตัวลายเซ็นจะสามารถใช้ในการเชื่อมโยงไปยังบุคคลที่เซ็นเอกสารได้
2. Data Integrity เป็นความสามารถในการตรวจสอบหรือพิสูจน์ได้ว่ามีการแก้ไขเอกสารหลังจากที่ได้มีการเซ็นไปแล้วหรือไม่
3. Non-repudiation การไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้เนื่องจากลายเซ็นที่สร้างขึ้นมีเอกลักษณ์ สามารถพิสูจน์ในชั้นศาลได้ว่าใครเป็นผู้เซ็นเอกสาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น