วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2562

บทที่ 1เทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอที (Information Technology,IT)

                 การประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม เพื่­อรวบรวมจัดเก็บ จัดการ จัดส่ง ค้นหา เรียกใช้ กระจายออก และติดตาม ข้อมูลต่างๆ เทคโนโลยีสารสนเทศนี้เกี่­ยวข้องกับองค์กร          หรือกิจการ
          เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) คือ เทคโนโลยีสารสนเทศนี้เกี่­ยวข้องกับองค์กร หรือกิจการในธุรกิจต่างๆ ในเรื่­องการช่วยให้การดําเนินงานต่างๆ เป็นไปอย่าง สะดวก ราบรื่­น สัมฤทธิ์ผล และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับนักบัญชี มีอะไรบ้าง

เทคโนโลยีพื้นฐาน เช่น
          คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต และการแก้ปัญหาเบื้องต้น
          การทํางานจากระยะไกล (Remotely online working)
          เครื่­องมือเครื่­องใช้สํานักงาน เช่น Scanner, Fax, Printer
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่­อการติดต่อสื่­อสารทั่วไป เช่น
          อีเมล (Email)
          โปรแกรมเพื่­อการสื่­อสารอื­นๆ เช่น Line, Skype
โปรแกรมสํานักงานประยุกต์ (Office Applications) เช่น
          ตารางคํานวณ (Spreadsheets)
          โปรแกรมพิมพ์งาน (Word) 7
          โปรแกรมนําเสนองาน (Presentation)
ระบบสารสนเทศทางการบัญชี ซึ่­งองค์ประกอบส่วนหนึ่­งได้แก่
          โปรแกรมสําเร็จรูปทางการบัญชี
          โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล

          ส่วนต่อขยายของระบบสารสนเทศทางการบัญชี และเทคโนโลยีต่อยอดการใช้ข้อมูลจากระบบสารสนเทศทางการบัญชี เช่น
          การเชื่­อมโยงข้อมูลระหว่างองค์กร 8
          คลังข้อมูล (Data Warehouse)
          โปรแกรมอัจฉริยะทางธุรกิจ (Business Intelligence) เช่น Pivot

ความรู้อื่นเกี่ยวกับไอทีที­นักบัญชีควรมี เช่น
          การรักษาข้อมูลที­เป็นความลับ (Security & control of sensitive data) 9
          กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมภายในของกิจการที­ใช้ โปรแกรมสําเร็จรูปทางการบัญชี

                                                การจัดทำระบบสารสนเทศทางบัญชี

ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี ระบบสนเทศด้านการบัญชีจะมีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วน คือ
          1. ระบบบัญชีการเงิน (financial Accounting System) บัญชีการเงินเป็นการบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้น ในรูปตัวเงินจัดหมวดหมู่รายการต่างๆสรุปผลและตีความ หมายในงบการเงิน ได้แก่ งบกำไรขาดทุน งบดุล และ งบกระแสเงินสด โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ นำเสนอ สารสนเทศแก่ ผู้ใช้และผู้ที่สนใจข้อมูลทางการเงินของ องค์การเช่นนักลงทุนและเจ้าหนี้นอกจากนี้ยังจัดเตรียม สารสนเทศในการตัดสินใจของผู้บริหารซึ่งนักบัญชีสามารถ นำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการประมวลข้อมูล โดยจด บันทึกลงในสื่อต่าง ๆ เช่น เทป หรือจากแม่เหล็ก เพื่อรอเวลาสำหรับทำการประมวลและแสดงผลข้อมูลตาม ความต้องการ
          2. ระบบบัญชีบริหาร (Managerial Accounting System) บัญชีบริหารเป็นการนำเสนอข้อมูลทางการเงิน แก่ผู้บริหาร เพื่อใช้ในการ ตัดสินใจทางธุรกิจ ระบบบัญชี จะประกอบด้วยบัญชีต้นทุนการงบประมาณและการศึกษา ระบบโดยมีลักษณะสำคัญ คือ
                   2.1 ให้ความสำคัญกับการจัดการสารสนเทศ ทางการบัญชีแก่ผู้ใช้ภายในองค์การ
                   2.2 ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานในอนาคต ของธุรกิจ
                   2.3 ไม่ต้องจัดทำสารสนเทศตามหลักการบัญชี ที่รับรองทั่วไป
                   2.4 มีข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน
                   2.5 มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับให้สอง คล้องกับความต้องการใช้งาน

รูปแบบระบบสารสานเทศด้านการบัญชี
          AIS จะให้ความสำคัญกับการรวบรวมข้อมูล และการติดต่อสื่อสารทางการเงินซึ่งเป็นกระบวนการติดต่อ สื่อสารมากว่าการวัดมูลค่าโดย AISจะแสดงภาพรวมจัดเก็บจัดโครงสร้างประมวลข้อมูลควบคุมความปลอดภัย และการรายงานสารสนเทศทางการบัญชีปัจจุบันการดำเนินงานและการไหลเวียนของข้อมูลทางการบัญชีมีความซับช้อนมากขึ้นทำให้นักบัญชีต้องกำหนดคุณสมบัติของสารสนเทศด้านการบัญชีให้สัมพันธ์กับการดำเนินงานขององค์กรประการสำคัญ AIS และระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการจะมีทั้งส่วนที่แยกออกจากกันและเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันแต่AIS จะให้ความสำคัญกับการจัดการสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจของผู้บริหารขณะที่AISจะประมวลสารสนเทศเฉพาะสำหรับผู้ใช้งานทั้งภายในและภายนอกองค์การ เช่น นักลงทุน เจ้าหนี้ และผู้บริหาร เป็นต้น

          วัชนีพร เศรษสักโก (2545) ได้ให้ความหมายไว้ว่า ระบบสารสนเทศทางการบัญชีหมายถึง ระบบที่พัฒนาขึ้นมาในกิจการโดยมีการใช้ทรัพยากรบุคคลคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้างเช่นจอภาพเครื่องพิมพ์เพื่อทำหน้าที่หลักในการบันทึกข้อมูลประมวลผลและจัดทำสารสนเทศทางการบัญชีเสนอให้แก่ผู้ใช้ภายในและผู้ใช้ภาคนอกกิจการในระบบสารสนเทศทางการบัญชีอาจใช้คนจัดเก็บบันทึกข้อมูลและจัดทำสารสนเทศทางการบัญชีโดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้างรวมทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศอื่น

          อุทัยวรรณ จรุงวิภู (2544) ได้ให้ความหมายไว้ว่า ระบบสารสนเทศทางการบัญชี หมายถึง ระบบที่ถูก ออกแบบมาเพื่อแปลง หรือประมวลข้อมูลทางการเงินให้ เป็นสารสนเทศที่มีประโยชน์ในการตัดสินใจต่อผู้ใช้ คือบุคคลภายในและภายนอกองค์กรแน่น้อยใจอ่อนน้อม (2543) ได้ให้ความหมายไว้ว่าระบบสารสนเทศทางการบัญชีหมายถึงระบบการเก็บรวบรวมทรัพยากรขององค์กรเช่นอุปกรณ์หรือทรัพยากรอย่างอื่นโดยได้รับการออกแบบให้มีการประมวลผลข้อมูลทางการเงินออกมาเป็นสารสนเทศสารสนเทศดังกล่าวนี้ได้มีการใช้อย่างกว้างขวางในหมู่ผู้บริหารซึ่งต้องมีการตัดสินใจและระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่กล่าวถึงนี้อาจเป็นไปได้ทั้งระบบบัญชีทีทำด้วยมือและระบบบัญชีที่ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์จากความหมายข้างต้นผู้ศึกษาได้สรุปความหมายของระบบสารสนเทศทางการบัญชีหมายถึงระบบที่ถูกออกแบบมาเพื่อนำข้อมูลทางการบัญชีไปผ่านกระบวนการประมวลผลแล้วนำเสนอในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย ซึ่งประกอบด้วยผู้ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆที่สามารถช่วยลดขั้นตอนที่ซับซ้อนของบัญชีนำเสนอต่อบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์กร

สารสนเทศทางการบัญชีต่อองค์การ ดังนี้
                    1. ระบบสารสนเทศทางการบัญชีสามารถ ปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือการบริการ โดยการเพิ่มคุณภาพ  การลดต้นทุนหรือการเพิ่มรูปแบบได้ตามความต้องการเช่นระบบสารสนเทศทางการบัญชีสามารถวัดการทำงานของเครื่องจักร ดังนั้น ถ้าเกิดเหตุการณ์ที่ผิดปกติ ฝ่ายปฏิบัติการสามารถสังเกตได้โดยทันที
                      2. ระบบสารสนเทศทางการบัญชีช่วยเพิ่มประสิทธิภาพยกตัวอย่างเช่น สมมติว่าบริษัทแห่งหนึ่งในกระบวนการผลิตแนวทางการประกอบชิ้นส่วนเครื่องจักรในโรงงานล่าช้าเนื่องจากฝ่ายผลิตมีวัตถุดิบไม่เพียงพอทั้งๆที่ในโกดังมีพื้นที่เหลือมากในการจัดเก็บระบบสารสนเทศทางการบัญชีสามารถช่วยจัดการเกี่ยวกับวัตถุดิบไม่ว่าจะเป็นการจัดการเกี่ยวกับปริมาณวัตถุดิบในมือและการสั่งชื้อวัตถุดิบโดยอัตโนมัติเมื่อวัตถุดิบคงเหลือ ในปริมาณที่ต้องการสั่งซื้อ
                 3. ระบบสารสนเทศทางการบัญชีช่วยในการ จัดหาสารสนเทศได้ทันเวลาและเชื่อถือได้เพื่อใช้ในการ ตัดสินใจยกตัวอย่าง เช่นบริษัทแห่งหนึ่งมีผลิตภัณฑ์กว่า 100ชนิด ในแต่ละวันจะทำการรวบรวมและวิเคราะห์ถึง สาเหตุซึ่งอาจทำการผลิตต่อโดยทำการปรับปรุงคุณภาพ หรือหยุดทำการผลิต
                     4. ระบบสารสนเทศทางการบัญชีช่วยทำให้บริษัท ได้เปรียบในการแข่งขันยกตัวอย่างเช่นบริษัท ไพรัวอเตอร์ เฮ้าคูเปอร์ส เอบีเอเอส จำกัด ทำการพัฒนาระบบที่ช่วยอำนวยประโยชน์ในการแบ่งข้อมูลที่เกี่ยวกับลูกค้าระบบจะเก็บข้อมูลพื้นฐานต่างๆของลูกค้าโดยแบ่งเป็นประเภทต่างๆซึ่งจะช่วยในการทำงานครั้งต่อไปได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพราะในข้อมูลพื้นฐานนั้นจะ รวบรวมปัญหาต่างๆจากกรณีศึกษาที่ผ่านมาและแนวทาง แก้ไข
           5. ระบบสารสนเทศทางการบัญชีช่วยปรับปรุงการติดต่อสื่อสารยกตัวอย่างเช่นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง กฎหมายภาษีอากรทางบริษัทตรวจสอบจะแจ้งให้ลูกค้า ทราบโดยใช้ระบบเครือข่าย
                     6. ระบบสารสนเทศทางการบัญชีช่วยในการ พัฒนาองค์ความรู้ยกตัวอย่างเช่น การเก็บข้อมูลทางภาษี อากรเมื่อเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับภาษีอากรเข้าไปค้นหาข้อมูล เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาได้

อ้างอิง
ชลิต ผลอินทร์หอม (2559) ไอทีกับนักบัญชีมืออาชีพ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
file:///C:/Users/Windows%2010/Downloads/79-1-137-2-10-20180223.pdf
พัชรินทร์ ใจเย็น และคณะ (2560) นักบัญชีกับเทคโนโลยียุคปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น