วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2562

บทที่ 10 การพัฒนาและการใช้ระบบข้อมูลการบัญชีที่มีประสิทธิภาพ



การพัฒนา
การพัฒนา หมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่มีการกระทำให้เกิดขึ้น หรือมีการวางแผนกำหนดทิศทางไว้ล่วงหน้าโดยการเปลี่ยนแปลงนี้ต้องเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นถ้าเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ดีก็ไม่เรียกว่าการพัฒนา
วงจรการพัฒนาระบบ
วงจรการพัฒนาระบบ คือกระบวนในการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อแก้ปัญหาทางธุรกิจและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้โดยภายในวงจรนั้นจะแบ่งกระบวนการพัฒนาออกเป็นกลุ่มงานหลัก ๆ ดังนี้
- ด้านการวางแผน (Planning Phase)
- ด้านการวิเคราะห์ (Analysis Phase)
- ด้านการออกแบบ (Design Phase)
- ด้านการสร้างและพัฒนา (ImplementationPhase)
ความสำคัญระบบสารสนเทศทั้งหลายมีวงจรชีวิตที่เหมือนกันตั้งแต่เกิดจนตายวงจรนี้จะเป็นขั้นตอน ที่เป็นลำดับตั้งแต่ต้นจนเสร็จเรียบร้อย เป็นระบบที่ใช้งานได้ซึ่งนักวิเคราะห์ระบบต้องทำความเข้าใจให้ดีว่าในแต่ละขั้นตอนจะต้องทำอะไรและทำอย่างไร
ขั้นตอนการพัฒนาระบบมีอยู่ด้วยกัน 7 ขั้นตอน คือ
1. เข้าใจปัญหา (Problem Recognition)
2. ศึกษาความเป็นไปได้ (FeasibilityStudy)
3. วิเคราะห์ (Analysis)
4. ออกแบบ (Design)
5. สร้างหรือพัฒนาระบบ (Construction)
6. การปรับเปลี่ยน (Conversion)
7. บำรุงรักษา (Maintenance)
1. การวางแผนระบบ (System Planning) เป็นขั้นตอนแรกสุดของการพัฒนาระบบสารสนเทศ
ในการวางแผนระบบสารสนเทศนั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อการตรวจสอบระบบงานเบื้องต้น (Initial Investigation) เช่น
- การรับรู้สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นของระบบงานเดิม
- การหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดจากระบบงานเดิม
- การทำการศึกษาความเป็นไปได้ในแง่มุมต่างๆ เช่นต้นทุนและทรัพยากร
- การรวบรวมความต้องการจากผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่นการรวบรวมเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกต และการออกแบบสอบถาม ดังนั้นจึงต้องมีการสำรวจเบื้องต้น (Preliminary Investigation) เพื่อศึกษาสิ่งต่อไปนี้
1. การกำหนดปัญหาและความต้องการ (Determinationof Problems and Requirements) ตัวอย่างปัญหาที่เกิดจากระบบงานเดิมเช่น
- ระบบเดิมไม่ตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้หรือขาดการประสานงานที่ดี
- ระบบเดิมอาจไม่สนับสนุนงานในอนาคต
- ระบบเดิมมีองค์ประกอบของเทคโนโลยีไม่เหมาะสมหรือล้าสมัย
- ระบบเดิมมีการดำเนินงานที่ผิดพลาดบ่อย
2. การกำหนดวัตถุประสงค์ (Specificationof Objectives) เป็นการกำหนดให้แน่ชัดว่าจะแก้ไขปัญหาอะไรบ้างจากปัญหาทั้งหมด
3. การศึกษาความเป็นไปได้ (FeasibilityStudy) หรือความเหมาะสม ซึ่งพิจารณาจาก
- ความเป็นไปได้ทางเทคนิค (TechnicalFeasibility) คือความเป็นไปได้ในการสร้างระบบงานใหม่ เช่น การจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยหรือการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ
- ความเป็นไปได้ในการปฏิบัติงาน (OperationalFeasibility) คือความเป็นไปได้ที่ระบบงานใหม่จะตรงกับความต้องการของผู้ใช้ซึ่งต้องคำนึงถึงทักษะของผู้ใช้ด้วย
- ความเป็นไปได้ในเชิงเศรษฐศาสตร์ (EconomicFeasibility) คือความเป็นไปได้ในเรื่องงบประมาณ เงินลงทุนค่าใช้จ่าย และความคุ้มค่า
2. การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) เป็นขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบงานปัจจุบันหรือระบบงานเดิมซึ่งอาจเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์อยู่หรือไม่ก็ได้เพื่อให้ทราบถึงรายละเอียดของระบบงานที่ใช้อยู่ ข้อดี ข้อเสีย ทรัพยากรและความเหมาะสมของระบบงานในแต่ละส่วน เพื่อเตรียมการปรับเปลี่ยนให้เป็นระบบสารสนเทศใหม่สิ่งที่จะต้องวิเคราะห์ระบบมีดังนี้
- วิเคราะห์ถึงปัญหาหลักและปัญหารองที่เกิดขึ้นในระบบ(Redefine the Problem)
- ทำความเข้าใจถึงระบบงานเดิม (UnderstandExisting System)
- กำหนดความต้องการของผู้ใช้ระบบและข้อจำกัดในการใช้ระบบงานใหม่ (User Requirements and Constrains) เสนอทางเลือกในการออกแบบระบบ โดยการสร้างแบบจำลองเชิงตรรกะ (LogicalModel) เช่น Database Model Diagram, ER Source Model และ ORM Diagram ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยส่วนใหญ่มักวิเคราะห์ออกมาในรูปของแผนภาพการไหลของข้อมูล(DFD : Data Flow Diagram) ซึ่งเป็นแผนภาพที่แสดงการไหลของข้อมูลทั้งระบบและช่วยในการสื่อสารระหว่างนักวิเคราะห์ระบบกับผู้ใช้ระบบ
3. การออกแบบระบบ (System Design)
เป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ระบบมาพัฒนาเป็นรูปแบบทางกายภาพ(Physical Model) โดยเริ่มจากการออกแบบงานทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ทั้งในส่วนนำข้อมูลเข้า (Input) ส่วนประมวลผล (Process)ส่วนแสดงผลลัพธ์ (Output) ส่วนจัดเก็บข้อมูล (Storage)การออกแบบจำลองข้อมูลการออกแบบรายงานและการออกแบบหน้าจอในการติดต่อกับผู้ใช้ระบบซึ่งจะต้องมุ่งเน้นการวิเคราะห์ว่าช่วยแก้ปัญหาอะไร (What)และการออกแบบช่วยแก้ปัญหาอย่างไร(How)
4. การติดตั้งระบบ (SystemImplementation) เป็นขั้นตอนการส่งมอบระบบงานเพื่อนำไปใช้จริงโดยจะรวมถึงการจัดเตรียมแฟ้มข้อมูลหรือฐานข้อมูลของระบบ การอบรมผู้ที่เกี่ยวข้องการปรับเปลี่ยนระบบงานเดิมมาใช้ระบบงานใหม่ซึ่งจะต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของพื้นที่ที่จะติดตั้ง อุปกรณ์ที่ใช้และผู้เชี่ยวชาญหรือทีมงานด้านเทคนิค (Technical Support) ที่เกี่ยวข้อง จากนั้นจึงติดตั้งโปรแกรมให้ครบถ้วน
5. การดูแลรักษาระบบ (System Maintenance) เป็นขั้นตอนสุดท้ายในวงจรพัฒนาระบบซึ่งเป็นขั้นตอนการดูแลแก้ไขปัญหาระบบงานใหม่ ในขั้นตอนนี้ถ้าเกิดปัญหาจากโปรแกรมโปรแกรมเมอร์จะต้องเข้ามาแก้ไข หรือผู้ใช้อาจมีความต้องการวิธีการทำงานใหม่ๆเพิ่มเติมทั้งนี้การดูแลรักษาระบบจะเป็นขั้นตอนในส่วนที่เกิดตามมาภายหลังที่ได้มีการติดตั้งและใช้งานระบบแล้ว
วงจรการพัฒนาระบบ
- องค์กรศึกษาและปรับระบบบัญชีใหม่เนื่องจาก
1. ระบบปัจจุบันของพวกเขาไม่มีประสิทธิภาพ
2. ต้องรวมระบบบัญชีสองระบบขึ้นไป
3. พลังห้องอินเทอร์เน็ตส่งเสริมการพัฒนาของเว็บ
- งานพัฒนาระบบ
- เริ่มต้นด้วยการตรวจสอบอย่างเป็นทางการของระบบข้อมูลที่มีอยู่
- ดำเนินการโดย
1. มืออาชีพในบ้านในองค์กรขนาดใหญ่
2. ทีมที่ได้รับการว่าจ้างจากที่ปรึกษาภายนอกในองค์กรขนาดเล็ก
ขั้นตอนในวงจรการพัฒนาระบบ
การวางแผนและการสอบสวนที่เกี่ยวข้อง
- การตรวจสอบเบื้องต้นของระบบปัจจุบัน
- การจัดทีมศึกษาระบบและ
- การพัฒนาแผนกลยุทธ์
การวิเคราะห์เกี่ยวข้องกับ
- วิเคราะห์ระบบปัจจุบันของ บริษัท และ
- ระบุความต้องการจุดแข็งและจุดอ่อน
- การใช้งานการติดตามและการดำรงรักษารวมถึง
- การรับทรัพยากรสำหรับระบบใหม่
- การฝึกอบรมพนักงานใหม่หรือที่มีอยู่
- ระบุปัญหาใหม่ใดๆ
การศึกษาระบบและระบบสารสนเทศทางการบัญชี การศึกษาระบบการเป็นส่วนหนึ่งของงานที่มากขึ้นของการปรับรื้อหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งของระบบหลักขององค์กร
การศึกษาระบบดู
- แอพพลิเคชั่นซึ่งรวมถึง
1. ระบบองค์กร
2. ระบบข้อมูลพิเศษอื่นๆ
3. ระบบแยกมากมายสำหรับพื้นที่ทำงา
การศึกษาระบบและระบบสารสนเทศทางการบัญชี การศึกษาในระบบ (Formal Education) หมายถึง เป็นการศึกษาที่มีรูปแบบและระบบแบบแผนชัดเจนมีการกำหนดวัตถุประสงค์ หลักสูตรวิธีการจัดการเรียนการสอน การวัดผลและการประเมินผลที่แน่นอน ซึ่งการศึกษาในระบบของไทยประกอบไปด้วยการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาในขั้นอุดมศึกษาโดยการศึกษาขั้นพื้นฐาน ถูกแบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆ คือ ระดับก่อนประถมศึกษาระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ยังถูกแบ่งเป็นประเภทสามัญศึกษาและประเภทอาชีวศึกษาอีกด้วยสำหรับในการศึกษาขั้นอุดมศึกษานั้น แบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆคือ ต่ำกว่าปริญญาตรีปริญญาตรี ประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโท และปริญญาเอก
- การปรับเปลี่ยนระบบข้อมูลที่มีอยู่
- การปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน
- การเปลี่ยนงานรวบรวมและบันทึกข้อมูล
- การปรับปรุงความรับผิดชอบของพนักงานและ
- การปรับปรุงวิธีการให้รางวัลแก่บุคลากร
การวางแผนและการตรวจสอบระบบ
1. คณะศึกษาและคณะกรรมการอำนวยการ
- ผู้บริหารระดับสูงที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จของระบบใหม่
2. การตรวจสอบรายงานระบบปัจจุบัน
- ปัญหาหรือวัตถุประสงค์ที่ทีมวิจัยระบุ
- วิธีแก้ปัญหาหรือทางเลือกที่ตรวจสอบและ
- หลักสูตรเพิ่มเติมที่แนะนำ
คณะกรรมการอำนวยการ
คณะกรรมการอำนวยการการเชื่อมต่อระหว่างการจัดการของ บริษัทและทีมการศึกษา รวมถึงผู้บริหารระดับสูง เช่น ตัวควบคุมรองประธานฝ่ายการเงินผู้จัดการระบบสารสนเทศระดับสูง ตรวจสอบพนักงานหนึ่งคนขึ้นไปและ CEO (สำหรับโครงการที่สำคัญมาก)
การวิเคราะห์ระบบและการออกแบบ (SystemAnalysis and Design) การวิเคราะห์และออกแบบระบบคือวิธีการที่ใช้ในการสร้างระบบสารสนเทศขึ้นมาใหม่ในธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งหรือระบบย่อยของธุรกิจนอกจากการสร้าระบบสารสนเทศใหม่แล้ว การวิเคราะห์ระบบช่วยในการแก้ไขระบบสารสนเทศเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นด้วยก็ได้
การวิเคราะห์ระบบก็คือ การหาความต้องการ (Requirements) ของระบบสารสนเทศว่าคืออะไร หรือต้องการเพิ่มเติมอะไรเข้ามาในระบบและการออกแบบก็คือ การนำเอาความต้องการของระบบมาเป็นแบบแผน หรือเรียกว่าพิมพ์เขียวในการสร้างระบบสารสนเทศนั้นให้ใช้งานได้จริงตัวอย่างระบบสารสนเทศ เช่น ระบบการขาย ความต้องการของระบบก็คือสามารถติดตามยอดขายได้เป็นระยะ เพื่อฝ่ายบริหารสามารถปรับปรุงการขายได้ทันท่วงทีตัวอย่างรายงานการขายที่กล่าวมาแล้วจะชี้ให้เห็นว่าเราสามารถติดตามการขายได้
- ใช้เวลานานกว่าการตรวจสอบเบื้องต้น
- จัดทำรายงานระหว่างการให้กับคณะกรรมการอำนวยการ
ขั้นตอนในขั้นตอนการออกแบบระบบ
ก่อนที่จะเริ่มลงมือทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบนั้นจะต้องทราบถึงขั้นตอนและวิธีการในการวิเคราะห์และออกแบบ ซึ่งหมายถึงการทำการวิเคราะห์ระบบงานปัจจุบัน นั่นคือการนำเอาระบบงานปัจจุบันมาทำการวิเคราะห์เพื่อค้นหาปัญหา (Problem Finding), กำหนดปัญหา (ProblemDefinition), และกำหนดวิธีการแก้ปัญหา (Problem Solving) ซึ่งในแต่ละขั้นตอนจะมีวิธีการต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้สำหรับการวิเคราะห์และออกแบบระบบซึ่งมีอยู่มากมายหลายวิธีทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่านักวิเคราะห์ระบบจะนำวิธีการใดมาใช้ในขั้นตอนใด ต้องดูถึงความเหมาะสมของวิธีการกับขั้นตอนนั้น ๆ ด้วย
การประเมินความเป็นไปได้ของระบบ
การศึกษาความเป็นไปได้ เป็นการศึกษาเบื้องต้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อค้นหาว่าแนวทางที่เป็นไปได้ของการทำโครงการซึ่งอาจมีหลายแนวทางที่สามารถแก้ปัญหาของระบบได้โดยเสียค่าใช้จ่ายและเสียเวลาที่น้อยที่สุด ได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ แนวทางต่าง ๆที่ได้เสนอมานี้จะต้องมีการพิสูจน์ว่ามีความเหมาะสมหรือเป็นไปได้ และจะต้องเป็นที่ยอมรับจากผู้บริหารนักวิเคราะห์ระบบจะต้องศึกษาให้เกิดความชัดเจนให้ได้ว่าการแก้ปัญหาดังกล่าวนั้น มีความเป็นไปได้หรือไม่ โดยทั่วไปในการศึกษาความเป็นไปได้จะพิจารณาจากปัจจัย 3 ประการ
คือ
1. ความเป็นไปได้ด้านเทคนิค (TechnicallyFeasibility)
2. ความเป็นไปได้ด้านการปฏิบัติ (OperationalFeasibility)
3. ความเป็นไปได้ด้านการลงทุน (EconomicFeasibility)
ความเป็นไปได้ด้านเทคนิค (TechnicallyFeasibility)
การศึกษาความเป็นไปได้ด้านเทคนิค หรือด้านเทคโนโลยีจะทำการตรวจสอบว่า ภายในองค์กรมีเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟแวร์ อุปกรณ์ต่อพ่วงรวมทั้งเครื่องมืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือไม่จำนวนเท่าใด เพียงพอหรือไม่ ถ้ามีสมรรถนะของเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับใด ถ้าไม่มี จะซื้อได้หรือไม่ ซื้อที่ไหนนอกจากนี้ ซอฟแวร์จะต้องพัฒนาใหม่ หรือต้องซื้อใหม่ เป็นต้น
ความเป็นไปได้ด้านการปฏิบัติ (OperationalFeasibility)
การศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านการปฏิบัตินักวิเคราะห์ระบบจะต้องพิจารณาดูว่าแนวทางแต่ละแนวทางที่จะใช้แก้ไขปัญหานั้นจะต้องสนองความต้องการของผู้ใช้ระบบหรือไม่เพียงใด จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อวิธีการทำงานของผู้ใช้ระบบหรือไม่อย่างไรและมีความพึงพอใจกับระบบใหม่ในระดับใดนอกจากนี้จะต้องพิจารณาว่าบุคลากรที่จะพัฒนาและติดตั้งระบบมีความรู้ความสามารถหรือไม่และมีจำนวน เพียงพอหรือไม่ ถ้าไม่เพียงพอจะหาได้หรือไม่และระบบใหม่สามารถเข้ากันกับการทำงานของระบบที่มีอยู่ในปัจจุบันหรือไม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น