วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2562

บทที่ 1เทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอที (Information Technology,IT)

                 การประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม เพื่­อรวบรวมจัดเก็บ จัดการ จัดส่ง ค้นหา เรียกใช้ กระจายออก และติดตาม ข้อมูลต่างๆ เทคโนโลยีสารสนเทศนี้เกี่­ยวข้องกับองค์กร          หรือกิจการ
          เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) คือ เทคโนโลยีสารสนเทศนี้เกี่­ยวข้องกับองค์กร หรือกิจการในธุรกิจต่างๆ ในเรื่­องการช่วยให้การดําเนินงานต่างๆ เป็นไปอย่าง สะดวก ราบรื่­น สัมฤทธิ์ผล และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับนักบัญชี มีอะไรบ้าง

เทคโนโลยีพื้นฐาน เช่น
          คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต และการแก้ปัญหาเบื้องต้น
          การทํางานจากระยะไกล (Remotely online working)
          เครื่­องมือเครื่­องใช้สํานักงาน เช่น Scanner, Fax, Printer
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่­อการติดต่อสื่­อสารทั่วไป เช่น
          อีเมล (Email)
          โปรแกรมเพื่­อการสื่­อสารอื­นๆ เช่น Line, Skype
โปรแกรมสํานักงานประยุกต์ (Office Applications) เช่น
          ตารางคํานวณ (Spreadsheets)
          โปรแกรมพิมพ์งาน (Word) 7
          โปรแกรมนําเสนองาน (Presentation)
ระบบสารสนเทศทางการบัญชี ซึ่­งองค์ประกอบส่วนหนึ่­งได้แก่
          โปรแกรมสําเร็จรูปทางการบัญชี
          โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล

          ส่วนต่อขยายของระบบสารสนเทศทางการบัญชี และเทคโนโลยีต่อยอดการใช้ข้อมูลจากระบบสารสนเทศทางการบัญชี เช่น
          การเชื่­อมโยงข้อมูลระหว่างองค์กร 8
          คลังข้อมูล (Data Warehouse)
          โปรแกรมอัจฉริยะทางธุรกิจ (Business Intelligence) เช่น Pivot

ความรู้อื่นเกี่ยวกับไอทีที­นักบัญชีควรมี เช่น
          การรักษาข้อมูลที­เป็นความลับ (Security & control of sensitive data) 9
          กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมภายในของกิจการที­ใช้ โปรแกรมสําเร็จรูปทางการบัญชี

                                                การจัดทำระบบสารสนเทศทางบัญชี

ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี ระบบสนเทศด้านการบัญชีจะมีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วน คือ
          1. ระบบบัญชีการเงิน (financial Accounting System) บัญชีการเงินเป็นการบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้น ในรูปตัวเงินจัดหมวดหมู่รายการต่างๆสรุปผลและตีความ หมายในงบการเงิน ได้แก่ งบกำไรขาดทุน งบดุล และ งบกระแสเงินสด โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ นำเสนอ สารสนเทศแก่ ผู้ใช้และผู้ที่สนใจข้อมูลทางการเงินของ องค์การเช่นนักลงทุนและเจ้าหนี้นอกจากนี้ยังจัดเตรียม สารสนเทศในการตัดสินใจของผู้บริหารซึ่งนักบัญชีสามารถ นำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการประมวลข้อมูล โดยจด บันทึกลงในสื่อต่าง ๆ เช่น เทป หรือจากแม่เหล็ก เพื่อรอเวลาสำหรับทำการประมวลและแสดงผลข้อมูลตาม ความต้องการ
          2. ระบบบัญชีบริหาร (Managerial Accounting System) บัญชีบริหารเป็นการนำเสนอข้อมูลทางการเงิน แก่ผู้บริหาร เพื่อใช้ในการ ตัดสินใจทางธุรกิจ ระบบบัญชี จะประกอบด้วยบัญชีต้นทุนการงบประมาณและการศึกษา ระบบโดยมีลักษณะสำคัญ คือ
                   2.1 ให้ความสำคัญกับการจัดการสารสนเทศ ทางการบัญชีแก่ผู้ใช้ภายในองค์การ
                   2.2 ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานในอนาคต ของธุรกิจ
                   2.3 ไม่ต้องจัดทำสารสนเทศตามหลักการบัญชี ที่รับรองทั่วไป
                   2.4 มีข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน
                   2.5 มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับให้สอง คล้องกับความต้องการใช้งาน

รูปแบบระบบสารสานเทศด้านการบัญชี
          AIS จะให้ความสำคัญกับการรวบรวมข้อมูล และการติดต่อสื่อสารทางการเงินซึ่งเป็นกระบวนการติดต่อ สื่อสารมากว่าการวัดมูลค่าโดย AISจะแสดงภาพรวมจัดเก็บจัดโครงสร้างประมวลข้อมูลควบคุมความปลอดภัย และการรายงานสารสนเทศทางการบัญชีปัจจุบันการดำเนินงานและการไหลเวียนของข้อมูลทางการบัญชีมีความซับช้อนมากขึ้นทำให้นักบัญชีต้องกำหนดคุณสมบัติของสารสนเทศด้านการบัญชีให้สัมพันธ์กับการดำเนินงานขององค์กรประการสำคัญ AIS และระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการจะมีทั้งส่วนที่แยกออกจากกันและเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันแต่AIS จะให้ความสำคัญกับการจัดการสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจของผู้บริหารขณะที่AISจะประมวลสารสนเทศเฉพาะสำหรับผู้ใช้งานทั้งภายในและภายนอกองค์การ เช่น นักลงทุน เจ้าหนี้ และผู้บริหาร เป็นต้น

          วัชนีพร เศรษสักโก (2545) ได้ให้ความหมายไว้ว่า ระบบสารสนเทศทางการบัญชีหมายถึง ระบบที่พัฒนาขึ้นมาในกิจการโดยมีการใช้ทรัพยากรบุคคลคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้างเช่นจอภาพเครื่องพิมพ์เพื่อทำหน้าที่หลักในการบันทึกข้อมูลประมวลผลและจัดทำสารสนเทศทางการบัญชีเสนอให้แก่ผู้ใช้ภายในและผู้ใช้ภาคนอกกิจการในระบบสารสนเทศทางการบัญชีอาจใช้คนจัดเก็บบันทึกข้อมูลและจัดทำสารสนเทศทางการบัญชีโดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้างรวมทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศอื่น

          อุทัยวรรณ จรุงวิภู (2544) ได้ให้ความหมายไว้ว่า ระบบสารสนเทศทางการบัญชี หมายถึง ระบบที่ถูก ออกแบบมาเพื่อแปลง หรือประมวลข้อมูลทางการเงินให้ เป็นสารสนเทศที่มีประโยชน์ในการตัดสินใจต่อผู้ใช้ คือบุคคลภายในและภายนอกองค์กรแน่น้อยใจอ่อนน้อม (2543) ได้ให้ความหมายไว้ว่าระบบสารสนเทศทางการบัญชีหมายถึงระบบการเก็บรวบรวมทรัพยากรขององค์กรเช่นอุปกรณ์หรือทรัพยากรอย่างอื่นโดยได้รับการออกแบบให้มีการประมวลผลข้อมูลทางการเงินออกมาเป็นสารสนเทศสารสนเทศดังกล่าวนี้ได้มีการใช้อย่างกว้างขวางในหมู่ผู้บริหารซึ่งต้องมีการตัดสินใจและระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่กล่าวถึงนี้อาจเป็นไปได้ทั้งระบบบัญชีทีทำด้วยมือและระบบบัญชีที่ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์จากความหมายข้างต้นผู้ศึกษาได้สรุปความหมายของระบบสารสนเทศทางการบัญชีหมายถึงระบบที่ถูกออกแบบมาเพื่อนำข้อมูลทางการบัญชีไปผ่านกระบวนการประมวลผลแล้วนำเสนอในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย ซึ่งประกอบด้วยผู้ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆที่สามารถช่วยลดขั้นตอนที่ซับซ้อนของบัญชีนำเสนอต่อบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์กร

สารสนเทศทางการบัญชีต่อองค์การ ดังนี้
                    1. ระบบสารสนเทศทางการบัญชีสามารถ ปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือการบริการ โดยการเพิ่มคุณภาพ  การลดต้นทุนหรือการเพิ่มรูปแบบได้ตามความต้องการเช่นระบบสารสนเทศทางการบัญชีสามารถวัดการทำงานของเครื่องจักร ดังนั้น ถ้าเกิดเหตุการณ์ที่ผิดปกติ ฝ่ายปฏิบัติการสามารถสังเกตได้โดยทันที
                      2. ระบบสารสนเทศทางการบัญชีช่วยเพิ่มประสิทธิภาพยกตัวอย่างเช่น สมมติว่าบริษัทแห่งหนึ่งในกระบวนการผลิตแนวทางการประกอบชิ้นส่วนเครื่องจักรในโรงงานล่าช้าเนื่องจากฝ่ายผลิตมีวัตถุดิบไม่เพียงพอทั้งๆที่ในโกดังมีพื้นที่เหลือมากในการจัดเก็บระบบสารสนเทศทางการบัญชีสามารถช่วยจัดการเกี่ยวกับวัตถุดิบไม่ว่าจะเป็นการจัดการเกี่ยวกับปริมาณวัตถุดิบในมือและการสั่งชื้อวัตถุดิบโดยอัตโนมัติเมื่อวัตถุดิบคงเหลือ ในปริมาณที่ต้องการสั่งซื้อ
                 3. ระบบสารสนเทศทางการบัญชีช่วยในการ จัดหาสารสนเทศได้ทันเวลาและเชื่อถือได้เพื่อใช้ในการ ตัดสินใจยกตัวอย่าง เช่นบริษัทแห่งหนึ่งมีผลิตภัณฑ์กว่า 100ชนิด ในแต่ละวันจะทำการรวบรวมและวิเคราะห์ถึง สาเหตุซึ่งอาจทำการผลิตต่อโดยทำการปรับปรุงคุณภาพ หรือหยุดทำการผลิต
                     4. ระบบสารสนเทศทางการบัญชีช่วยทำให้บริษัท ได้เปรียบในการแข่งขันยกตัวอย่างเช่นบริษัท ไพรัวอเตอร์ เฮ้าคูเปอร์ส เอบีเอเอส จำกัด ทำการพัฒนาระบบที่ช่วยอำนวยประโยชน์ในการแบ่งข้อมูลที่เกี่ยวกับลูกค้าระบบจะเก็บข้อมูลพื้นฐานต่างๆของลูกค้าโดยแบ่งเป็นประเภทต่างๆซึ่งจะช่วยในการทำงานครั้งต่อไปได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพราะในข้อมูลพื้นฐานนั้นจะ รวบรวมปัญหาต่างๆจากกรณีศึกษาที่ผ่านมาและแนวทาง แก้ไข
           5. ระบบสารสนเทศทางการบัญชีช่วยปรับปรุงการติดต่อสื่อสารยกตัวอย่างเช่นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง กฎหมายภาษีอากรทางบริษัทตรวจสอบจะแจ้งให้ลูกค้า ทราบโดยใช้ระบบเครือข่าย
                     6. ระบบสารสนเทศทางการบัญชีช่วยในการ พัฒนาองค์ความรู้ยกตัวอย่างเช่น การเก็บข้อมูลทางภาษี อากรเมื่อเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับภาษีอากรเข้าไปค้นหาข้อมูล เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาได้

อ้างอิง
ชลิต ผลอินทร์หอม (2559) ไอทีกับนักบัญชีมืออาชีพ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
file:///C:/Users/Windows%2010/Downloads/79-1-137-2-10-20180223.pdf
พัชรินทร์ ใจเย็น และคณะ (2560) นักบัญชีกับเทคโนโลยียุคปัจจุบัน

บทที่ 2 การจัดทำเอกสารของระบบสารสนเทศทางการบัญชี


เอกสารของระบบสารสนเทศ (Documentation) มีความสำคัญต่อนักบัญชี ผู้วิเคราะห์ระบบ ผู้พัฒนาระบบ ผู้ตรวจสอบภายใน และผู้สอบบัญชีเป็นอย่างมาก เพราะเอกสารของระบบสารสนเทศแสดงให้เห็นถึงเส้นทาง การไหลของข้อมูลหรือเอกสาร ประเภทของเอกสารที่ใช้ และกระบวนการปฏิบัติงานของหน่วยงานในองค์กร
          - ผู้ใช้ที่เป็นพนักงานในแต่ละหน่วยงานสามารถปฏิบัติงานได้ถูกต้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน
          - เอกสารชุดนี้สามารถใช้เป็นเครื่องมือฝึกอบรมพนักงานใหม่ ของแต่ละหน่วยงานได้
          - ผู้วิเคราะห์ระบบและผู้พัฒนาระบบสามารถตรวจพบข้อบกพร่องที่เกิดในกระบวนการปฏิบัติงานได้ง่ายขึ้น
          - ผู้ตรวจสอบภายในและผู้สอบบัญชีสามารถใช้เอกสาร ของระบบสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการประเมินประสิทธิภาพการควบคุมภายใน
วัตถุประสงค์
          1. บอกความหมายของเอกสารระบบสารสนเทศได้
          2. บอกประเภทเอกสารระบบสารสนเทศได้
          3. บอกสัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนเอกสารของระบบสารสนเทศได้
          4. บอกวิธีการเขียนเอกสารของระบบสารสนเทศ
ความสำคัญของเอกสารระบบสารสนเทศ
          - แสดงให้เห็นถึงเส้นทางการไหล (Flow) ของข้อมูล หรือข้อมูล ประเภทเอกสารที่ใช้ และกระบวนการปฏิบัติ
          - ผู้ใช้ในองค์กรปฏิบัติตามเอกสารขององค์กรทำให้เกิด มาตรฐานเดียวกัน
          - เป็นเอกสารประกอบการอบรมพนักงาน
          - เป็นเอกสารที่นักวิเคราะห์และผู้พัฒนาระบบใช้ตรวจสอบระบบ
          - เป็นเอกสารที่ผู้ตรวจสอบภายในและผู้สอบบัญชีใช้เป็นเครื่องมือประเมินประสิทธิภาพการควบคุม       
ภายใน
ประเภทของเอกสารระบบสารสนเทศ
          - แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram :DFD)
          - ผังงานเอกสาร (Document Flowcharts)
          - ผังระบบ (System Flowcharts)
          - ผังโปรแกรม (Program Flowcharts)
          - แผนภูมิโครงสร้าง (Structure Charts)
แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagrams :DFD)
          แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagrams : DFD) เป็นเอกสารที่ผู้วิเคราะห์ระบบ (System analysts) นิยมใช้ ในการวิเคราะห์ระบบงานที่ใช้ในปัจจุบันเพื่อพัฒนาระบบใหม่ แผนภาพกระแสข้อมูลนี้แสดงถึงแนวคิดการไหลของข้อมูลระหว่างกระบวนการปฏิบัติงานแหล่งที่เก็บข้อมูล จุดเริ่มต้น และจุดสิ้นสุดของข้อมูล ซึ่งจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของข้อมูลนั้นเป็นได้ทั้งหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอกกิจการ
          - DFD เป็นเอกสารที่นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysts)ใช้สำหรับการวิเคราะห์ระบบงานปัจจุบัน เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศใหม่
          - DFD แสดงถึงแนวคิดการไหลของข้อมูลระหว่างกระบวนการปฏิบัติงาน (process) แหล่งเก็บข้อมูล (data store) จุดเริ่มต้น และจุดสิ้นสุดของข้อมูล

แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagrams :DFD)

  • สัญลักษณ์ที่ใช้ใน DFD
วิธีการเขียน DFD
1. ต้องทำความเข้าใจกับระบบงานและลักษณะงานให้ชัดเจน
2. เขียน DFD ฉบับร่าง ตรวจทานให้สมบูรณ์ก่อนเขียนฉบับจริง
3. นำข้อมูลที่มีอยู่มาเขียน Context Diagram โดยใส่ชื่อกระบวนการไม่ต้องใส่หมายเลข
4. หลีกเลี่ยงการเขียนเส้น Data Flow ทับหรือตัดกัน
5. แหล่งเก็บข้อมูล (Data Store) ต้องมีเส้นการไหลข้อมูลเข้าหรือออก
6. การเขียน Process ให้เขียนจากบนลงล่างและซ้ายไปขวา
7. Process ที่มีรายละเอียดซับซ้อน อาจจะเขียนเป็นระดับ 0,1,2,3
8. ใช้ตัวเลขบอกระดับของ Process เช่น Level 0 เช่น 1.0, 2.0 Level 1 เช่น 1.1 1.2 1.3 level 2 เช่น 1.11 1.12




ผังงานเอกสาร (Document Flowcharts)
          ผังงานเอกสาร (Document Flowcharts) เป็นเอกสารที่ผู้สอบบัญชีและนักบัญชีนิยมใช้ในการวิเคราะห์ระบบงานที่ใช้ในปัจจุบันผังงานเอกสารนี้แสดงเส้นทางเดินของเอกสาร (Physical flow of documents) โดยแสดง ให้เห็นภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่จัดทำเอกสารหน่วยงานที่ตรวจสอบเอกสาร หน่วยงานที่รับเอกสาร และหน่วยงานที่จัดเก็บเอกสารรวมทั้ง แสดงให้เห็นว่าเอกสารได้เก็บไว้ที่ใด หรือเอกสารนั้นถูกทำลายทิ้งไป
          - Document Flowcharts เป็นเอกสารที่ผู้สอบบัญชีและนักบัญชีใช้ในการวิเคราะห์ระบบงานในปัจจุบัน เพื่อหาข้อบกพร่องของการควบคุมภายใน และการจัดทำรายงาน
          - Document Flowcharts แสดงเส้นทางของเอกสารทั้งเอกสารขั้นต้นและรายงานระหว่างกระบวนการปฏิบัติงานของระบบงานที่ไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล
วิธีการเขียน Document Flowcharts
1. ต้องทำความเข้าใจกับระบบงานและลักษณะงานให้ชัดเจน
2. ระบุหน่วยงานจุดเริ่มต้นและจุดจบของผังงานเอกสาร
3. เขียนผังงานเอกสารฉบับร่าง ตรวจทานให้สมบูรณ์ ก่อนเขียนฉบับจริง
4. การเขียน Process ให้เขียนจากบนลงล่าง และซ้ายไป
5. เขียนหัวลูกศรเพื่อแสดงเส้นทางการไหลของเอกสาร
6. ระบุเลขที่สำเนาของเอกสาร โดยต้นฉบับให้ใส่หมายเลข1
7. ระบุชื่อเอกสารในสัญลักษณ์ของเอกสาร
8. ระบุชื่อกระบวนการปฏิบัติงานในสัญลักษณ์ของเอกสาร
9. ใช้สัญลักษณ์เชื่อมต่อในกระดาษหน้าเดียวกันและระหว่างหน้ากระดาษ

10. ใช้สัญลักษณ์อธิบายข้อมูลเพิ่มเติม



ตัวอย่าง Document Flow





Document Flow จะเห็นได้ว่าแต่ละฝ่ายแต่ละแผนกในบริษัทล้วนแต่มีการใช้งานเอกสารกันทั้งสิ้น
และเอกสารบ้างอย่างจะต้องมีการส่งต่อไปยังฝ่ายที่ทำหน้าที่รับผิดชอบซึ่งในส่วนนี้ควรจะมีการระบุเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบและระยะเวลาตลอดจนขั้นตอนการทำงานลงไปเพื่อแสดงรายละเอียดในการไหลของขั้นตอนการทำงานเพิ่มเติมลงไปด้วยก็ได้สามารถนำไปปรับตามความเหมาะสมขององค์กร Document Flow ในปัจจุบันได้มีบริษัทที่ให้บริการออกแบบโปรแกรมซอฟแวร์ของไทยเกิดขึ้นมากมายเนื่องจาก document flow จะเป็นการทำงานที่เกี่ยวข้องกับเอกสารดังนั้นจะไม่มีซอฟแวร์ที่มารองรับเฉพาะจะต้องเป็นการจ้างบริษัทที่รับออกแบบซอฟแวร์ทำการพัฒนาขั้นตอนการทำงานขึ้นมาโดยเฉพาะบริษัททำให้ระบบนี้ส่วนใหญ่จะนิยมใช้งานกันในระบบองค์กรใหญ่ๆ ที่มีทุนในการจ้างออกแบบระบบ ก็คงหวังไว้ว่าจะมีนักศึกษาด้านคอมพิวเตอร์ทำโปรเจคซอฟแวร์สำหรับจัดการบริหาร document flow เล็กๆสำหรับบริษัทSME บ้างเช่น ระบบการขอไฟฟ้า, ระบบการขอทะเบียนต่างๆ, ระบบการขออนุมัติโครงการเป็นต้นในปัจจุบันมีบริษัทต่างๆทำระบบบริหารงานเอกสารออกมาแต่เนื่องจากเป็นทางด้านการค้าทำให้SMEไม่มีโอกาสที่จะหยิบมาใช้งานในบริษัทของตัวเองได้ก็คงเฝ้ารอคอยจะมีหน่วยงานใดหรือบุคคลใดที่ทำซอฟแวร์ออกมาให้ใช้งานได้ฟรีๆ

ผังงานระบบ (System Flowcharts)
          ผังงานระบบ (System Flowcharts) เป็นเอกสาร ที่นักบัญชีนิยมใช้กันมากเพราะในผังงานระบบได้อธิบายให้เห็นความสัมพันธ์ของกระบวนการปฏิบัติงานทั้งหมดในระบบแสดงให้ทราบว่าใครเกี่ยวข้องกับกระบวนการปฏิบัติงาน ข้อมูลที่นำเข้าและผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลจัดเก็บไว้ที่ใดข้อมูลอะไรที่กิจการได้รับเข้ามาและผลลัพธ์ที่ได้จาก
การประมวลผลคืออะไร รูปแบบเป็นอย่างไร รวมทั้ง ลำดับขั้นตอนการประมวลผลเป็นอย่างไร
          - System Flowcharts เป็นเอกสารที่นักบัญชีนิยมใช้เพราะได้แสดงความสัมพันธ์ของกระบวนการปฏิบัติงานทั้งหมดในระบบ
          - System Flowcharts แสดงให้ทราบว่าใครเกี่ยวข้องกับกระบวนการปฏิบัติงานข้อมูลเก็บไว้ที่ใด รวมทั้งลำดับขั้นตอนการปฏิบัติงานเป็นอย่างไร




บทที่ 3 ระบบสารสนเทศทางการบัญชีกับกระบวนการทางธุรกิจ ด้านการซื้อ-การขาย



กระบวนการทางธุรกิจ
          กระบวนการทางธุรกิจ (Business process) คือ ขั้นตอนในการประกอบธุรกิจโดยเริ่มตั้งแต่การนำเงินมาลงทุนในกิจการเพื่อใช้จ่ายเป็นค่าเครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ วัตถุดิบ ค่าแรง ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการบริหารงานด้านต่างๆแล้วทำการจำหน่ายสินค้าหรือบริการออกไปเพื่อให้ได้มาซึ่งรายรับแก่ธุรกิจหลังจากนั้นจึงนำไปหักค่าใช้จ่ายเพื่อดูผลได้สุทธิว่ากำไรหรือขาดทุน แล้วจึงนำเงินนั้นใช้เพื่อดำเนินธุรกิจ
บทบาทและขั้นตอนของกระบวนการทางธุรกิจ      
             การดําเนินธุรกิจเกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยโบราณตั้งแต่ยุคที่เรายังไม่มีเงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนกระบวนการทางธุรกิจยังเป็นเรื่องง่ายๆไม่ซับซ้อนเช่นการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกันเพื่อให้ได้ของที่ต่างฝ่ายต่างพอใจแต่ในปัจจุบันกระบวนการทางธุรกิจถูกจัดทำให้มีรูปแบบที่ชัดเจนและถูกต้องโดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องบังคับให้การทำธุรกิจดำเนินไปในทางที่ถูกที่ควรเราจึงควรมีความเข้าใจในกระบวนการทางธุรกิจที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในทุกวันนี้กระบวนการทางธุรกิจเริ่มจากการที่เจ้าของนำเงินสดหรือสินทรัพย์อื่นมาลงทุนในธุรกิจ ถ้าเงินสดมีไม่เพียงพอ อาจต้องกู้ยืมเพิ่มจากเจ้าหนี้หรือสถาบันการเงินต่างๆ จากนั้นจึงเริ่มนำเงินสดไปซื้อที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ต่างๆ หรืออาจใช้วิธีเช่าแทนการซื้อก็ได้ เมื่อกิจการเริ่มดำเนินการ ลักษณะของการดำเนินงานจะขึ้นอยู่กับรูปแบบของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการผลิต การค้าขาย หรือการให้บริการ โดยจะมีรายได้และค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นตามลักษณะของแต่ละกิจการเมื่อรายได้สูงกว่าค่าใช้จ่ายจะเกิดกำไร แต่ถ้าค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้จะเกิดผลขาดทุน ส่วนใหญ่ในช่วงแรกของการดำเนินธุรกิจจะเกิดผลขาดทุน เมื่อดำเนินงานมาสักระยะหนึ่งธุรกิจจึงมีกำไร เมื่อมีผลกำไร ธุรกิจจะแบ่งปันคืนเจ้าของ หรือผู้ถือหุ้นในรูปของเงินปันผล กำไรส่วนที่เหลือก็จะเก็บไว้ในการดำเนินธุรกิจต่อไป


การหมุนเวียนของเงินสดในกระบวนการทางธุรกิจ



ประเภทของธุรกิจที่พบเห็นโดยทั่วไป

ลักษณะทั่วไปของการดำเนินธุรกิจมี 3 ประเภท ได้แก่        
            1. กิจการให้บริการ (Service Firm) กิจการให้บริการจะมีรายได้หลัก คือ ค่าธรรมเนียมค่าบริการรับ รายจ่ายหลัก คือ เงินเดือนพนักงาน ค่าวัสดุสิ้นเปลือง ค่าเช่าค่าสาธารณูปโภค และอื่นๆ รายจ่ายในกิจการให้บริการถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ปัญหาที่เกิดขึ้นในกิจการให้บริการคือการวัดผลการดำเนินงาน ลักษณะของผลิตภัณฑ์จะไม่เห็นเป็นตัวตนที่ชัดเจน ตัวอย่างของธุรกิจประเภทนี้ เช่นโรงพยาบาล สำนักงานกฎหมาย บริษัทที่ปรึกษา เป็นต้น
             2. กิจการซื้อมาขายไป (Merchandising Firm) หมายถึง กิจการที่ซื้อขายสินค้าทั้งขายส่งและขายปลีกโดยไม่ใช่ผู้ผลิต รายได้หลักของกิจการ คือ เงินที่ขายสินค้าได้ ค่าใช้จ่ายจำแนกเป็น 2 ส่วน คือ ต้นทุนสินค้าขาย และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ตัวอย่างของธุรกิจประเภทนี้ เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านขายยา ร้านขายของชำ เป็นต้น
             3. กิจการผลิต (Manufacturing Firm) กิจการผลิตส่วนใหญ่จะมีโรงงานสำหรับผลิตสินค้า รายได้หลัก คือ เงินที่ได้จากการขายสินค้า ค้าใช้จ่าย คือ ต้นทุนในการซื้อวัตถุดิบ ค่าจ้างคนงาน และค่าใช้จ่ายในขบวนการผลิต ค่าใช้จ่ายทั้งสามส่วนนี้จะรวมเป็นต้นทุนสินค้า ส่วนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในสำนักงานจะถือเป็นค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร

วงจรบัญชี (Accounting Cycle)
              วงจรบัญชี หมายถึง ลำดับขั้นตอนการจัดทำบัญชี การบันทึกเอกสารรายการค้าลงในสมุดรายวัน และการสรุปผลรายงานทางการเงินแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี วัตถุประสงค์ให้ได้ผลการดำเนินงานและสถานะทางการเงิน ทำให้กิจการได้นำมาใช้ในการวิเคราะห์ตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ว่าแต่วงจรบัญชีหรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าวัฎจักรทางการบัญชี มีวิธีการจัดทำและบันทึกรายการอย่างไร

วงจรซื้อ
         เมื่อมีการซื้อสินค้า เอกสารที่กิจการจะได้รับใบกำกับภาษีซื้อเป็นชุด (ต้นฉบับ และ สำเนา)
         1. ให้นำต้นฉบับใบกำกับภาษีซื้อที่ได้รับ มาจัดเรียงตามวันที่และใส่ลำดับเลขที่ใหม่ ดังนี้ เดือน…../ลำดับที่…….
         2. ให้นำต้นฉบับใบกำกับภาษีซื้อ มาจัดทำรายงานภาษีซื้อ (เตรียมยื่นนำส่งภาษี ภ.พ.30)
         3. ในกรณีที่เป็นใบกำกับภาษีซื้อต้องห้าม เช่น ใบกำกับภาษีซื้อค่าอาหาร ซื้อขนม เป็นต้น ให้นำมาหักออกจากรายภาษีซื้อ
         4. ในกรณีใบกำกับภาษีซื้อล่าช้า สามารถล่าช้าได้ 6 เดือน ถ้าได้รับในเดือนใด ให้นำมาจัดทำรายงานภาษีซื้อในเดือนนั้น โดยให้หมายเหตุไว้ที่ใบกำกับภาษีด้วยว่า ถือเป็นใบกำกับภาษีซื้อเดือน…….
         5. เมื่อลงรายการภาษีซื้อแล้ว ให้นำต้นฉบับใบกำกับภาษีเก็บเข้าแฟ้มเป็นหลักฐาน โดยเรียงตามลำดับที่ในรายงานภาษีซื้อ
         6. นำสำเนาใบกำกับภาษีซื้อ มาจัดทำใบตรวจรับพัสดุ
         7. นำใบตรวจรับพัสดุ มาบันทึกรายการในสมุดรายวันซื้อ พอสิ้นเดือนจึงสรุปยอด
วงจรขาย
         เมื่อมีการขายสินค้า ต้องจัดทำใบกำกับภาษีขายขึ้น ต้องมีต้นฉบับ และสำเนา (ต้นฉบับ = 1+ สำเนา 5 )
        1. นำรายการขายสินค้ามาจัดทำใบกำกับภาษีขาย แล้วนำต้นฉบับใบกำกับภาษีขาย + สำเนา 1 ใบ ให้ลูกค้า
        2. นำสำเนาใบกำกับภาษีขายมาจัดทำรายงานภาษีขาย
        3. นำใบกำกับภาษีขายมาบันทึกรายการในสมุดรายวันขาย สิ้นเดือนสรุปยอด
        4. นำใบกำกับภาษีขาย มาจัดทำบัญชีคุมสินค้าทางด้านรายจ่าย

        5. สิ้นเดือนรวมยอดต้นทุนสินค้าที่ขายในบัญชีคุมสินค้า บันทึกต้นทุนขายในสมุดรายวันทั่วไป




สมุดรายวันทั่วไป

             สมุดรายวันทั่วไป (General Journal) คือ สมุดบัญชีขั้นต้นหรือสมุดรายวันที่ใช้จดบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นทุกรายการ ถ้ากิจการนั้นไม่มีสมุดรายวันเฉพาะ แต่ถ้ากิจการนั้นมีการใช้สมุดรายวันเฉพาะ สมุดรายวันทั่วไปก็จะมีไว้เพื่อบันทึกรายการค้าอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นและไม่สามาถนำไปบันทึกในสมุดรายวันเฉพาะเล่มใดเล่มหนึ่งได้


จากรูปแบบของสมุดรายวันทั่วไปข้างต้นจะสามารถอธิบายถึงส่วนประกอบต่างๆ ของสมุดรายวันทั่วไป ได้ดังนี้
          1. จะต้องมีคำว่าสมุดรายวันทั่วไป (General Journal) อยู่หัวกระดาษตรงกลางเพื่อที่จะบอกว่าแบบฟอร์มที่จัดทำนี้คือสมุดรายวันทั่วไป
          2. จะต้องมีเลขที่หน้าของสมุดรายวันทั่วไปอยู่ตรงมุมบนขวามือของกระดาษเพื่อบอกว่าสมุดรายวันทั่วไปที่บันทึกอยู่นี้เป็นหน้าที่เท่าไร
          3. ช่องที่ 1 ของสมุดรายวันทั่วไปเป็นช่องที่แสดงวันที่ ของรายการค้าที่เกิดขึ้น ซึ่งจะต้องเป็นวันที่ที่เรียงลำดับก่อนหลังของรายการค้าที่เกิดขึ้น ในการบันทึกรายการในช่องวันที่นั้น ให้บันทึกปีพ.ศ.ก่อน โดยบันทึกไว้อยู่ตรงกลาง ต่อมาบันทึกเดือน โดยบันทึกไว้ด้านหน้า แล้วต่อมาจึงบันทึกวันที่ หากวันต่อไปของรายการค้าที่จะต้องบันทึกบัญชีหากเป็นปีเดียวกัน เดือนเดียวกัน ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องบันทึก ปี พ.ศ. และเดือนใหม่อีก
         4. ช่องที่ 2 เป็นช่องรายการ ใช้บันทึกรายการบัญชีที่จะต้องบันทึกทางด้านเดบิต รายการที่จะต้องบันทึกทางด้านเครดิต และคำอธิบายรายการ โดยในการบันทึกรายการในช่องนี้ให้บันทึกบัญชีที่จะต้องบันทึกทางด้านเดบิตก่อน โดยให้บันทึกทางด้านซ้ายของช่องให้ชิดเส้นซ้ายมือของช่อง หากรายการค้าใดที่มีบัญชีที่จะต้องบันทึกทางด้านเดบิตมากกว่า 1 บัญชีให้บันทึกบัญชีทางด้านเดบิตให้หมดเสียก่อน จากนั้นให้บันทึกบัญชีที่จะต้องบันทึกทางด้านเครดิต โดยเยื้องมาทางด้านขวามือเล็กน้อยประมาณหนึ่งนิ้วถึงหนึ่งนิ้วครึ่ง หากรายการค้าใดมีบัญชีที่จะต้องบันทึกทางด้านเครดิตมากกว่า 1 บัญชีให้บันทึกบัญชีทางด้านเครดิตให้หมด ซึ่งหลักการบันทึกบัญชีว่าบัญชีใดบันทึกทางด้านเดบิต และบัญชีใดบันทึกทางด้านเครดิตนั้น จะได้อธิบายต่อไปในหัวข้อหลักการบันทึกบัญชีคู่ จากนั้นให้เขียนคำอธิบายรายการเพื่ออธิบายว่าเกิดรายการค้าอะไรเกิดขึ้นจึงทำให้ต้องบันทึกบัญชีเช่นนั้น โดยการเขียนคำอธิบายรายการให้เขียนโดยชิดซ้ายติดกับเส้นทางด้านซ้ายของช่อง สุดท้ายให้ขีดเส้นใต้เพื่อแสดงการสิ้นสุดการบันทึกรายการค้านั้น ๆ ในการขีดเส้นใต้นี้ให้ขีดเส้นใต้เฉพาะช่องรายการเท่านั้น
         5. ช่องที่ 3 เป็นช่องเลขที่บัญชี ใช้บันทึกเลขที่บัญชีที่บันทึกไว้ในช่องรายการทั้งทางด้านเดบิต และเครดิต ซึ่งเรื่องเลขที่บัญชีนี้จะได้อธิบายให้ละเอียดในหัวข้อถัดไป
         6. ช่องที่ 4 เป็นช่องเดบิต ใช้บันทึกจำนวนเงินที่บันทึกบัญชีแต่ละบัญชีทางด้านเดบิต โดยแบ่งเป็น 2 ช่องย่อย คือช่องบาท และช่องสตางค์
         7. ช่องที่ 5 เป็นช่องเครดิต ใช้บันทึกจำนวนเงินที่บันทึกบัญชีแต่ละบัญชีทางด้านเครดิต โดยแบ่งเป็น 2 ช่องย่อย คือช่องบาท และช่องสตางค์

สมุดรายวันเฉพาะ
            สมุดรายวันเฉพาะ(Special Journal)คือ สมุดรายวันหรือสมุดบัญชีขั้นต้นที่ใช้บันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ
            1.1 สมุดรายวันรับเงิน (Cash Received Journal) เป็นสมุดรายวันที่ใช้บันทึกรายการค้าที่เกี่ยวกับการรับเงินเท่านั้น เช่น การรับรายได้ การรับชำระหนี้ เป็นต้น
            1.2 สมุดรายวันจ่ายเงิน (Cash Payment Journal) เป็นสมุดรายวันที่ใช้บันทึกรายการค้าที่เกี่ยวกับการจ่ายเงินเท่านั้น เช่น จ่ายค่าใช้จ่าย ซื้อสินทรัพย์ จ่ายเงินชำระหนี้ เป็นต้น
            1.3 สมุดรายวันซื้อ ( Purchases Journal ) เป็นสมุดรายวันที่ใช้บันทึกรายการค้าที่เกี่ยวกับการซื้อสินค้าเป็น เงินเชื่อเท่านั้น
            1.4 สมุดรายวันขาย (Sales Journal) เป็นสมุดรายวันที่ใช้บันทึกรายการค้าที่เกี่ยวกับการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อเท่านั้น
            1.5 สมุดรายวันส่งคืนสินค้า (Purchases Returns and Allowance Journal) เป็นสมุดรายวันที่ใช้บันทึกรายการค้าที่เกี่ยวกับการส่งคืนสินค้าที่ซื้อมาเป็นเงินเชื่อเท่านั้น
            1.6 สมุดรายวันรับคืนสินค้า (Sales Returns and Allowance Journal) เป็นสมุดรายวันที่ใช้บันทึกรายการค้าที่เกี่ยวกับการรับคืนสินค้าที่ขายเป็นเงินเชื่อเท่านั้น

สมุดบัญชีแยกประเภท (Ledger)
            สมุดบัญชีแยกประเภท (Ledger) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
        1. สมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป (General Ledger) เป็นสมุดที่รวบรวมหรือคุมยอดของบัญชีแยกประเภททุกบัญชี ซึ่งใช้บันทึก การเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ (ทุน) ต่อจากการบันทึกลงในสมุดรายวันทั่วไป ได้แก่ บัญชีแยกประเภท สินทรัพย์ เช่น บัญชีเงินสด บัญชีเงินฝากธนาคาร บัญชีลูกหนี้ บัญชีสินค้า บัญชีวัสดุสำนักงาน บัญชีอาคาร เป็นต้น บัญชีแยก ประเภทหนี้สิน เช่น บัญชีเจ้าหนี้การค้า บัญชีเงินกู้ บัญชีเจ้าหนี้ อื่นๆ เป็นต้น บัญชีแยกประเภทส่วนของเจ้าของ เช่น บัญชีทุน บัญชีรายได้ (Income) บัญชีค่าใช้จ่าย (expense) และบัญชีถอนใช้ส่วนตัว
        2. สมุดบัญชีแยกประเภทย่อย (Subsidiary Ledger) เป็นที่รวบรวมของบัญชีแยกประเภทย่อยของบัญชีคุมยอด (Controlling Accounts) ในสมุดแยกประเภททั่วไป เช่น สมุดบัญชีแยกประเภทลูกหนี้รายตัว บัญชีเจ้าหนี้รายตัว ซึ่งยอดรวมของบัญชีแยกประเภท รายตัวทั้งหมดจะเท่ากับยอดรวมในสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป

รูปแบบของบัญชีแยกประเภท ที่นิยมใช้กันทั่วไปมี 2 แบบ
             1. แบบบัญชีแยกประเภททั่วไป (แบบมาตรฐาน) มีลักษณะคล้ายตัวอักษรภาษาอังกฤษ คือตัว T ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ทางด้านซ้ายมือคือด้านลูกหนี้หรือเดบิต (Debit) ทางด้านขวามือคือด้านเจ้าหนี้หรือด้านเครดิต (Credit)
             2. แบบบัญชีแยกประเภทย่อย (แบบแสดงยอดดุล) มีลักษณะคล้ายกับรูปแบบของสมุดรายวันทั่วไป แต่มีช่องยอดคงเหลือ เพิ่มขึ้นมา เพื่อแสดงรายการคงเหลือทุกครั้งที่มีการบันทึกรายการและเมื่อต้องการทราบยอดคงเหลือ

งบการเงิน (Financial Statement)
           งบการเงิน (Financial Statement) หมายถึง รายงานทางการเงินที่แสดงฐานะทางการเงิน และผลการดำเนินงานของกิจการ ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ณ วันสิ้นงวดบัญชี อาจจะเป็นระยะเวลา 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี

ส่วนประกอบของงบการเงินที่สมบูรณ์ ควรประกอบด้วย
             1. งบกำไรขาดทุน (Profit and Loss Statement) หมายถึง งบที่แสดงผลการดำเนินงานของกิจการว่ามีผลกำไร หรือ ขาดทุนสุทธิเท่าใดประกอบด้วยรายละเอียดของรายได้และค่าใช้จ่าย
             2.งบดุลหรืองบแสดงฐานะกานเงิน (Balance Sheet) หมายถึง งบที่แสดงฐานะทางการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่งประกอบด้วยรายละเอียด ของสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ (ทุน)
             3.งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ (Statement of changes in owner’s equity)
            4.งบกระแสเงินสด (Cash Flow statement)
            5.หมายเหตุประกอบเงินการเงิน (Note to Financial Statement)

การจัดทำงบกำไรขาดทุน
          1. ส่วนหัวงบ มี 3 บรรทัด คือ
                   บรรทัดที่ 1 เขียน “ชื่อกิจการ
                    บรรทัดที่ 2 เขียนคำว่า “งบกำไรขาดทุน
                   บรรทัดที่ 3 เขียนระยะเวลาที่จัดทำงบกำไรขาดทุน
          2. เขียนคำว่า “รายได้” ทางด้านซ้ายมือแล้วนำบัญชีรายได้หลักและรายได้อื่น ๆ ของกิจการมาลงรายการโดยเขียน เยื้องไปทางขวามือเล็กน้อย และเขียนจำนวนเงินทางขวามือแล้วรวมยอดรายได้ทั้งหมด
         3. เขียนคำว่า “ค่าใช้จ่าย” ทางซ้ายมือให้ตรงกับรายได้ และนำบัญชีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมดเขียนเยื้องไปทาง ขวามือเล็กน้อย พร้อมเขียนจำนวนเงินทางขวามือแล้วรวมยอดค่าใช้จ่ายทั้งหมด
        4. หาผลต่างระหว่างยอดรวมรายได้ และยอดรวมค่าใช้จ่าย ถ้ายอดรวมรายได้มากกว่ายอดรวมค่าใช้จ่าย ผลต่างคือ กำไรสุทธิ ถ้ายอดรวมค่าใช้จ่ายมากกว่ายอดรวมรายได้ผลต่างคือขาดทุนสุทธิ
การจัดทำงบดุลหรืองบแสดงฐานะการเงิน
        1. ส่วนหัวงบ 3 บรรทัด
                   บรรทัดแรก เขียน “ ชื่อกิจการ ”
                   บรรทัดที่สอง เขียนกำไรขาดทุนในและบรรทัดที่สามเขียนระยะเวลาบัญชี
        2. เขียนคำว่า “ สินทรัพย์ ” ไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษ แล้วนำบัญชีหมวดทรัพย์สินมาลงรายการทางด้านซ้ายมือ และ เขียนจำนวนเงินทางขวามือ
        3. เขียนคำว่า “ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ ” กลางหน้ากระดาษ แล้วนำบัญชีหมวดหนี้สินมาลงรายการทางซ้ายมือ และเขียนจำนวนเงินทางขวามือแล้วรวมยอดหนี้สิน สุดท้ายรวมยอดหนี้สินและส่วนของเจ้าของ ซึ่งต้องเท่ากับยอดรวมของสินทรัพย์ ทั้งหมด

         Statement of Changes in Owner's Equity งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของเป็นงบการเงินที่แสดงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงในรายการที่เป็นองค์ประกอบอื่นของส่วนของเจ้าของ จากต้นงวดบัญชีไปถึงสิ้นงวดบัญชีโดยแยกแสดงแต่ละรายการตามประเภทของรายการ การแสดงรายการในงบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2559) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน กำหนดไว้ว่ากิจการต้องนำเสนองบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของตามรายการดังต่อไปนี้
         1. กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมสำหรับงวด ซึ่งแสดงจำนวนรวมที่จัดสรรให้แก่ส่วนของผู้เป็นเจ้าของซึ่งเป็นบริษัทใหญ่และส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมแยกออกจากกัน
         2. สำหรับแต่ละองค์ประกอบของส่วนของเจ้าของ ผลกระทบของการนำนโยบายการบัญชีมาปรับปรุงย้อนหลังหรือแก้ไขงบการเงินย้อนหลัง
         3. สำหรับองค์ประกอบแต่ละรายการของส่วนของเจ้าของ การกระทบยอดระหว่างยอดยกมา ณ วันต้นงวดและวันสิ้นงวด ให้เปิดเผยการเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นผลจาก
                   · กำไรหรือขาดทุน
                   · แต่ละรายการของกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น
                   · รายการกับผู้เป็นเจ้าของในฐานะที่เป็นเจ้าของ ซึ่งแสดงเงินทุนที่ได้รับจากผู้เป็นเจ้าของและการจัดสรรส่วนทุนให้ผู้เป็นเจ้าของและการเปลี่ยนแปลงในส่วนได้เสียของความเป็นเจ้าของในบริษัทย่อยที่ไม่ได้ส่งผลให้สูญเสียการควบคุม

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ (Statement of Changes in Owner's Equity)
           งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ เป็นงบการเงินที่แสดงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงในรายการที่เป็นองค์ประกอบอื่นของส่วนของเจ้าของ จากต้นงวดบัญชีไปถึงสิ้นงวดบัญชีโดยแยกแสดงแต่ละรายการตามประเภทของรายการ การแสดงรายการในงบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2559) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน กำหนดไว้ว่ากิจการต้องนำเสนองบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของตามรายการดังต่อไปนี้        
            1. กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมสำหรับงวด ซึ่งแสดงจำนวนรวมที่จัดสรรให้แก่ส่วนของผู้เป็นเจ้าของซึ่งเป็นบริษัทใหญ่และส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมแยกออกจากกัน
            2. สำหรับแต่ละองค์ประกอบของส่วนของเจ้าของ ผลกระทบของการนำนโยบายการบัญชีมาปรับปรุงย้อนหลังหรือแก้ไขงบการเงินย้อนหลัง
            3. สำหรับองค์ประกอบแต่ละรายการของส่วนของเจ้าของ การกระทบยอดระหว่างยอดยกมา ณ วันต้นงวดและวันสิ้นงวด ให้เปิดเผยการเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นผลจาก
                   · กำไรหรือขาดทุน
                   · แต่ละรายการของกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น

                   · รายการกับผู้เป็นเจ้าของในฐานะที่เป็นเจ้าของ ซึ่งแสดงเงินทุนที่ได้รับจากผู้เป็นเจ้าของและการจัดสรรส่วนทุนให้ผู้เป็นเจ้าของและการเปลี่ยนแปลงในส่วนได้เสียของความเป็นเจ้าของในบริษัทย่อยที่ไม่ได้ส่งผลให้สูญเสียการควบคุม